แคร์การเงิน

โปรดระวังสัญญาณเหล่านี้ที่บ่งบอกว่า หนี้สิน กำลังเล่นงานคุณอย่างหนัก

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Published May 11, 2018

การเข้าถึงสถาบันการเงินที่ดูเหมือนจะง่ายขึ้น แต่ก็แลกมาด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เริ่มสูงตาม ทำให้หนี้สินของเรามีโอกาสเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากไม่สามารถวางแผนการเงิน หรือจัดการหนี้ที่ก่อขึ้นมาให้หมดไปได้อย่างไร้ปัญหา เพราะถ้าหากสะสมหนี้สินไว้เป็นจำนวนมากในเวลานาน นอกจากทำให้เครดิตเสีย ยังทำให้ใช้ชีวิตได้ยากลำบากมากขึ้น จากการบริหารจัดการเงินที่ขาดคุณภาพ ดังนั้นลองมาดูกันก่อนว่าสัญญาณอันตราย ที่กำลังบ่งบอกว่าคุณมีหนี้ท่วมหัว คืออะไรบ้าง 

เงินชำระหนี้สินเกินกว่า 40% ของเงินเดือน

รายได้ทั้งหมดต่อเดือนถูกนำไปชำระหนึ้สินเกินกว่า 40% เช่น หากคุณมีเงินเดือน 20,000 บาท แต่ว่าเดือนหนึ่งคุณใช้หนี้ไปเกือบ 10,000 บาท นั้นแปลว่าคุณต้องชำระหนี้สินต่อเดือนที่สูงถึง 40-50% เลยทีเดียว นั่นทำให้สภาพคล่องทางการเงินกำลังอยู่ในสภาวะที่ค่อนข้างเสี่ยง เนื่องจากไม่มีเงินสำรองใช้กรณีที่เจ็บป่วย หรือมีเหตุฉุกเฉินที่ต้องใช้เงินเลย เพราะเงินกว่าครึ่งจากรายได้ ถูกแบ่งไปชำระหนี้จนเกือบหมดแล้ว 

สอนคำนวณภาระหนี้สิน

สอนคำนวณภาระหนี้สินแบบง่าย ๆ คือ คำนวณ (รายจ่ายทั้งหมด) ให้เรียบร้อย จากนั้นหารด้วย (รายได้ทั้งหมดต่อเดือน) นำไปคูณด้วย 100 เพื่อให้ได้ออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์หนี้สินทั้งหมดของคุณ หากเกินกว่า 40% ถือว่าอยู่สภาวะที่เริ่มอันตรายแล้ว แต่ถ้าหากทะลุไปจนถึง 50-60% แปลว่าสถานการณ์กำลังค่อนข้างแย่อย่างมาก ควรรีบใช้หนี้ หรือแก้ปัญหาหนี้อย่างถูกต้องและเร่งด่วน

เริ่มจำไม่ได้ว่ามีหนี้สินเท่าไหร่

คุณเริ่มจำไม่ได้แล้วว่ามีหนี้สินเท่าไหร่ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่สร้างหนี้เอาไว้หลายช่องทาง จนจำแทบไม่หมดว่าตอนนี้มีหนี้อยู่กี่ช่องทาง ข้อเสียของการมีหนี้หลายช่องทาง มันจะทำให้คุณไม่สามารถวางแผนจัดการเงินได้ เพราะไม่รู้จะเริ่มต้นแก้ไขจากตรงไหน หากมีหนี้ก้อนใหญ่หลายที่ เมื่อเทียบเงินเดือนแล้วไม่สามารถปิดได้ทันที ทยอยจ่ายก็คงใช้เวลาค่อนข้างนานมากกว่าจะหมด จนทำให้รู้สึกเหนื่อยท้อไปเอง

คำแนะนำเพิ่มเติม: หากเริ่มจำไม่ได้แล้วว่ามีหนี้สินทั้งหมดเท่าไหร่ ให้ใช้เวลานั่งนึกคิดกับตัวเอง จดบันทึกรวบรวมเอาไว้ว่าเรามีหนี้ทั้งหมดเท่าไหร่ มาจากช่องทางไหนบ้าง ต้องชำระวันไหน หนี้ไหนผ่อนผันได้ดีที่สุด เรียงลำดับความสำคัญ ระยะเวลาการกู้ยืม เพื่อจัดลำดับการใช้งานหนี้ใหญ่ดอกเยอะจบก่อนเร็วที่สุด

มีการกู้ยืมมาเพื่อใช้หนี้สิน

มีการกู้ยืมมาเพื่อใช้หนี้สิน ถือเป็นการแก้หนี้ที่ดูเหมือนจะดี แต่มันจะกลายเป็นการสร้างวังวนหนี้แบบไม่รู้จบ ถ้าหากเรายังมีพฤติกรรมการใช้เงินแบบเดิม ๆ อยู่ เช่น มีหนี้บัตรเครดิต 10,000 บาท แล้วไปกู้ยืมสินเชื่อเพื่อมาปิดหนี้นั้น ต่อให้เราเคลียร์หนี้บัตรไปได้ ก็จะมีหนี้จากสินเชื่อรออยู่ ถ้ามีแผนการเงินคอยรองรับอยู่แล้วก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ายังคงใช้เงินฟุ่มเฟือยแบบเดิม ก็จะสร้างวังวนหนี้ต่อไปเรื่อย ๆ นั่นเอง

คำแนะนำเพิ่มเติม: ถ้ามีหนี้สินหลายช่องทาง ก่อนกู้สินเชื่อลองทำเรื่อง ปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อรวมหนี้ไว้เป็นก้อนเดียว หรือไม่ก็ขอลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อทยอยชำระให้ดีขึ้น และรีบเคลียร์ให้จบตามสัญญาใหม่ที่สถาบันการเงินเอื้อเฟื้อให้กับเรา

กลัวว่าจะมีคนเห็นใบแจ้งหนี้สิน

รู้สึกกลัวหากมีคนมาเห็นใบแจ้งหนี้สิน ไม่ว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นจากความรู้สึกอาย หรือกังวล สัญญาณนี้ถือเป็นอะไรที่ค่อนข้างอันตรายมากที่สุด นอกจากทำให้คุณกังวลเรื่องหนี้สินมากขึ้นเป็นทวีคูณ ยังส่งผลต่อจิตใจทำให้เกิดการคิดซ้ำซ้อน สุดท้ายส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต อาจทำให้เป็นโรคซึมเศร้าตามมา และไม่สามารถจัดการปัญหาได้ตามที่ควรจะเป็น

คำแนะนำเพิ่มเติม: เมื่อกังวลว่าจะมีคนเห็นใบแจ้งหนี้สิน อย่าพยามปกปิดต่อหน้าคนที่คุณไว้ใจ และไม่ต้องหวังพึ่งพาเขามาจนเกินไป เพียงแค่เข้าใจว่าการมองเห็น การพบเจอสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ รวมถึงให้เขาทราบสถานะการเงินคร่าว ๆ ของเรา ถือเป็นเรื่องที่ไม่ได้น่าเกลียดอะไรมากนัก และลองเปลี่ยนความคิดนำความกังวลที่เกิดขึ้น มาเป็นแรงผลักดันเพื่อใช้หนี้ จัดการปัญหาหนี้ให้จบจะดีกว่า

เห็นเบอร์ไม่รู้จักคิดว่าเป็นคนทวงหนี้สิน

เห็นเบอร์ไม่รู้จักโทรเข้ามาแล้วคิดว่าเป็นเบอร์ทวงหนี้ไปเสียหมด แบบนี้นับเป็นสัญญาณเตือนเรื่องความกังวลสูงสุด รวมถึงเป็นสัญญาณเตือนว่าหนี้ที่คุณก่อขึ้น อาจเป็นหนี้นอกระบบ หรือหนี้ที่จัดการแก้ไขปัญหาได้ยาก เพราะหากเป็นการทวงจากสถาบันการเงิน เรายังสามารถพูดคุยกับเจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้สินได้อยู่บ้าง ทำให้สามารถคลายกังวลได้ค่อนข้างมาก ดีไม่ดีอาจได้วิธีจัดการปัญหาเพิ่มเข้ามาจากเจ้าหน้าที่ด้วย

แชร์ 7 เทคนิคการใช้หนี้ให้มีประสิทธิภาพ

  • รวมหนี้ให้เป็นก้อนเดียว ช่วยให้เราไม่ต้องจ่ายหลายทาง ไม่สับสน มีดอกเบี้ยเท่ากัน
  • เลือกชำระหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงก่อน เพื่อปิดจบภาระที่อาจพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ
  • ชำระหนี้ให้ตรงเวลา เพื่อป้องกันการโดนดอกเบี้ยเพิ่มเติม และเป็นการสร้างนิสัยชำระหนี้ที่ดี
  • ชำระหนี้มากกว่ายอดขั้นต่ำ เช่น หากมียอดขั้นต่ำ 1,500 บาท ให้ทยอยชำระเพิ่มขึ้นทีละเล็กน้อย เพื่อให้ลดต้นลดดอกได้มากขึ้น เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้หนี้หมดเร็ว และสร้างวินัยได้ดี
  • ลดรายจ่ายที่ไม่เป็นจำเป็น หากไม่ได้เป็น Fix Cost หรือรายจ่ายสำคัญต่อเดือน ให้เราพยายามลดรายจ่ายที่ลดได้ออกไป แล้วนำเงินส่วนที่เหลือไปบริหารจัดการหนี้แทน
  • หยุดสร้างหนี้ก้อนใหม่ หากก้อนเดิมยังเคลียร์ไม่หมด หรือไม่มีแผนจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ให้เคลียร์หนี้ให้เรียบร้อยก่อนคิดจะสร้างเพิ่ม
  • ชำระหนี้หมดเมื่อไหร่ เริ่มเก็บเงินได้เลยทันที 

เพียงเท่านี้เราก็จะรู้ตัวแล้วว่าอันไหนคือสัญญาณหนี้สินที่กำลังทำให้เรากังวล และบ่งบอกว่าเริ่มมีหนี้ท่วมมากเกินไปแล้ว พยายามรีบจัดการตามคำแนะนำให้หมด ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนจัดการ หรือหากรายได้เสริมก็ดี และเมื่อไหร่ที่เคลียร์ได้หมดแล้ว เราจะรู้สึกโล่งใจ จนต้องหันมาเก็บเงิน หรือเลือกดูแลสุขภาพให้กลับมาแข็งแรง ด้วยการเลือกสมัคร ประกันสุขภาพ จาก แรบบิท แคร์ ที่พร้อมแคร์ เคียงข้างคุณตลอดเวลา ให้ช่วงเวลาต่อจากนี้ มีแต่ความสุข สุขภาพดีตลอดการดูแล

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์


    บทความแคร์การเงิน

    แคร์การเงิน

    ไฟแนนซ์ คืออะไร จัดไฟแนนซ์รถ รีไฟแนนซ์บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

    หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า จัดไฟแนนซ์ ขอไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อกันมาพอสมควร แต่อาจจะยังไม่เข้าใจรายละเอียดเรื่องการจัดไฟแนนซ์ ว่ามีขั้นตอนอย่างไร
    Thirakan T
    11/04/2024

    แคร์การเงิน

    เป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม?

    เรื่องหนี้สิน เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับคู่สมรส โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ที่เกิดจากการใช้จ่ายของทั้งสองฝ่าย ทั้งในกรณีที่ใช้จ่ายร่วมกัน
    Thirakan T
    11/04/2024

    แคร์การเงิน

    ผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารได้ไหม หรือควรทำอย่างไรดี

    ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่น่าหนักใจสำหรับใครหลายคน เพราะดอกเบี้ยบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว
    Thirakan T
    11/04/2024