แคร์การเงิน

พาณิชย์เสนอ เพิ่มยา-ค่าบริการ ขึ้น เป็นบัญชีสินค้าและบริการควบคุม 62

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Published January 22, 2019
  • ในการประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มกราคม 62 กระทรวงพาณิชย์นำเสนอมติผลการประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ครั้งที่ 1 ปี 2562 โดยเสนอให้มีการทบทวน รายการสินค้าและบริการควบคุม ประจำปี ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ ซึ่งจะมีสินค้าที่อยู่ในบัญชีสินค้าและบริการควบคุม จำนวน 52 รายการ แบ่งเป็นสินค้า 46 รายการ และบริการ 6 รายการ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ราคาสินค้าในปัจจุบัน
  • นอกจากนี้ยังมีในส่วนของแนวทางการเผยแพร่ราคายาที่จำเป็นและค่ารักษาพยาบาลผ่านทางเว็บไซต์กลาง และเว็บไซต์ของโรงพยาบาลเอกชนแต่ละแห่ง เพื่อให้ประชาชนได้เปรียบเทียบราคา โดยคาดว่าในวันที่ 13 เม.ย. 62 โรงพยาบาลเอกชนกว่า 100 แห่ง จะเริ่มใช้แนวทางนี้ทั่วประเทศพร้อมกัน

กระทรวงพาณิชย์ ชง ครม. พิจารณาบัญชีสินค้าและบริการควบคุม ปี 62

นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 22 มกราคม 2562 กระทรวงพาณิชย์นำเสนอมติผลการประชุมกรรมการกลางว่าด้วยเรื่องราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ครั้งที่ 1 ปี 2562 จะยื่นเรื่องให้ทบทวนบัญชีสินค้าและบริการควบคุมที่จะใช้บังคับในปี 2562

โดยมีสินค้าและบริการควบคุมรวมทั้งสิน 52 รายการ ลดลงจากปี 2561 ที่มีจำนวน 54 รายการ ซึ่งในส่วนของบริการได้เพิ่มบริการทางการแพทย์เข้าไป และในส่วนของสินค้าได้เพิ่มยาและเวชภัณฑ์ และส่วนที่ถอดออกจากบัญชีสินค้าควบคุมจำนวน 4 รายการ ได้แก่ น้ำตาลทราย เยื่อกระดาษ เม็ดพลาสติก และแบตเตอรี่รถยนต์ ทำให้มีสินค้าควบคุมเหลือ 46 จากเดิม 49 รายการ

ทั้งนี้สาเหตุที่ถอดน้ำตาลทรายออก เพราะปัจจุบันมีการปรับโครงสร้างราคาน้ำตาลทรายให้ลอยตัวตามกลไกตลาด และขณะนี้ราคาปรับตัวลดลง ส่วนเยื่อกระดาษ เม็ดพลาสติก และแบตเตอรี่รถยนต์ ปรับเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะมีผู้ผลิตหลายราย มีการแข่งขัน และไม่มีปัญหาด้านราคา

ส่วนการเพิ่มยาและเวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ เข้ามาเป็นสินค้าและบริการควบคุม เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชนเข้ามาเป็นจำนวนมากว่า โรงพยาบาลเอกชนมีการคิดค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ และค่ารักษาพยาบาลแพงเกินสมควร ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ จึงต้องนำเข้ามาเป็นสินค้าและบริการควบคุม เพื่อให้สามารถมีมาตรการเจ้ามากำกับดูแลตามความเหมาะสม

กกร. เล็งตั้งอนุกรรมการ หากครม. ไฟเขียว

ทางด้านนายประโยชน์ เพ็ญสุด รองอธิการบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า หากที่ประชุมรัฐมนตรี ในวันที่ 22 ม.ค. 62 มีมติเห็นชอบรายการสินค้าและบริการในบัญชีควบคุมตามที่คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) จะมีการเสนอให้ตั้งคณะอนุกรรมการที่พิจารณามาตรการดูแลยาและเวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ขึ้นมา 1 ชุด เพื่อหารือรายละเอียดจากข้อมูลทุกๆ ฝ่ายในการพิจารณาแนวทาง และมาตรการในการดูแลที่จะสร้างความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่าย

นอกจากเรื่องของการดูแลค่ายาและค่าบริการทางการแพทย์แล้ว ในส่วนของแนวทางการเผยแพร่ราคายาที่จำเป็นและค่ารักษาพยาบาลผ่านทางเว็บไซต์กลาง และเว็บไซต์ของโรงพยาบาลเอกชนแต่ละแห่ง เพื่อให้ประชาชนได้เปรียบเทียบราคาและตัดสินใจ เข้ารับการรักษาก็มีความคืบหน้าเช่นกัน

หลังจากก่อนหน้านี้กรมการค้าภายใน ได้ขอความร่วมมือให้กระทรวงสาธารณสุขหารือกับโรงพยาบาลเอกชน และมั่นใจว่าเรื่องดังกล่าวจะเป็นของขวัญวันปีใหม่ไทยอย่างแน่นอน หรือคาดว่าในวันที่ 13 เมษายน 2562 โรงพยาบาลเอกชนกว่า 100 แห่ง จะต้องเผยแพร่ข้อมูล ค่ารักษาผ่านเว็บไซต์กลาง และเว็บไซต์ของโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศพร้อมกัน

ทั้งนี้สำหรับรายการสินค้าและบริการควบคุมที่คาดว่าจะมีปัญหา คือ ยาและเวชภัณฑ์และบริการทางการแพทย์ เพราะขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนได้แสดงความไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า โรงพยาบาลเอกชนต่างจากโรงพยาบาลของรัฐที่มีงบประมาณสนับสนุน อีกทั้งยังต้องลงทุนในด้านเทคโนโลยี ทำให้มีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น และแต่ละโรงพยาบาลก็จะมีต้นทุนในด้านนี้แตกต่างกันไป แต่ทางด้านผู้บริโภคก็ต้องการให้กระทรวงพาณิชย์เข้ามาดูแล เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการคิดราคาที่สูงเกินจริง

อย่างไรก็ตามคงต้องรอผลสรุปการประชุมครม. ว่าจะเป็นอย่างไร อาจจะมีการเห็นชอบให้เป็นสินค้าและบริการควบคุม หรืออีกทางคือ ไม่เห็นชอบเฉพาะยา เวชภัณฑ์ และค่าบริการ ออกจากสินค้าและบริการควบคุมตามมติกกร. เพื่อให้รายการสินค้าและบริการที่ยังเหลืออยู่ในบัญชีมีมาตรการดูแลต่อไป  

ขอบคุณข้อมูล : https://www.posttoday.com/economy/577767

https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1327044


บทความแคร์การเงิน

แคร์การเงิน

ไฟแนนซ์ คืออะไร จัดไฟแนนซ์รถ รีไฟแนนซ์บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า จัดไฟแนนซ์ ขอไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อกันมาพอสมควร แต่อาจจะยังไม่เข้าใจรายละเอียดเรื่องการจัดไฟแนนซ์ ว่ามีขั้นตอนอย่างไร
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

เป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม?

เรื่องหนี้สิน เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับคู่สมรส โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ที่เกิดจากการใช้จ่ายของทั้งสองฝ่าย ทั้งในกรณีที่ใช้จ่ายร่วมกัน
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

ผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารได้ไหม หรือควรทำอย่างไรดี

ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่น่าหนักใจสำหรับใครหลายคน เพราะดอกเบี้ยบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว
Thirakan T
11/04/2024