แคร์การเงิน

เลือกบัตรเครดิตพลาด อาจเป็นหนี้โดยไม่รู้ตัว

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Published May 24, 2019

เดี๋ยวนี้กระแสนิยมการเป็นหนี้ นับว่ามาแรงทีเดียว แม้บางคนอาจจะไม่ได้อยากจะนิยมตามกระแส แต่ด้วยสถานภาพทางการเงินที่ฝืดเคือง ก็อาจจะบีบบังคับให้คุณต้องเป็นหนี้ เพื่อความอยู่รอดของตัวเองและครอบครัว

สำหรับมนุษย์เงินเดือน หนี้บัตรเครดิต ก็คงเป็นอีกปัญหารุมเร้าใช่ไหมล่ะ ซึ่งสาเหตุอาจไม่ได้เกิดจากการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย หรือบริหารเงินไม่ได้ตามเป้า แต่อาจเป็นเพราะคุณเลือกสมัครบัตรเครดิตผิดตั้งแต่ต้น จะทำยังไงให้ได้บัตรที่ตอบโจทย์และตรงใจ ตาม Rabbit Care ไปดูกันเลย

หนี้บัตรเครดิตของคนไทย

จากสถิติการแข่งขันในตลาดบัตรเครดิต ในปัจจุบันจำนวนบัตรเครดิตสะสมในปี 2560 มีทั้งสิ้น 20.3 ล้านบัตร ขยายตัว 1% ชะลอลง เมื่อเทียบกับปี 2559 ที่ขยายตัว 6.1% ส่งผลให้สัดส่วนหนี้เสีย ของบัตรเครดิตลดลงอย่างต่อเนื่องจากระดับ 3.7% ในปี 2559 มาอยู่ที่ 2.6% ในปี 2560

ซึ่งจากรายงานแนวโน้มธุรกิจบัตรเครดิตคาดว่าในปี 61-36 นี้ธุรกิจบัตรเครดิตจะเติบโตขึ้นถึง 6.3% ซึ่งจากแนวโน้มการใช้จ่ายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์โดยผูกบัญชีการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตมากขึ้น สอดคล้องกับการทำธุรกรรมทางออนไลน์ที่ขยายตัวในระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อาจจะคาดการณ์ว่า หนี้บัตรเครดิตของคนไทยอาจจะยังพุ่งตัวสูงขึ้น ด้วยความสะดวกสะบายในการใช้จ่าย ตลอดจนสิทธิประโยชน์ต่างๆจากบัตรเครดิต ที่ออกมาเพื่อแข่งขันกันในแต่ละเจ้า เพื่อดึงดูดลูกค้า แต่อาจไม่ใช่ทุกคนที่สามารถชำระยอดบัตรได้ตามกำหนดเวลา จนนำพาไปสู่การเป็นหนี้รุมเร้า

ขอบคุณข้อมูลจาก :  ธนาคารแห่งประเทศไทย / www.bltbangkok.com

5 สาเหตุ ที่คนไทยเป็นหนี้บัตรเครดิต

เพราะบัตรเครดิต เป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้คนไทยเราเป็นหนี้ วันนี้เราจึงจะพาไปดูว่า 5 สาเหตุอะไรบ้าง ที่ทำให้คนไทยเราเป็นหนี้บัตรเครดิตเพิ่มขึ้นทุกวัน

1. ใช้บัตรเครดิตเกินความสามารถในการใช้คืน

บ่อยครั้งที่คนเราเมื่อได้รูดบัตรแล้ว ทำให้รู้สึกหลงลืม ว่านั่นคือการที่คุณกำลังใช้เงินในอนาคตอยู่ เมื่อถึงเวลาคุณต้องนำเงินมาใช้คืน ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจรูดบัตร ควรคำนวณให้ดีว่า เงินที่คุณจะได้รับในอนาคตจะเพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ที่จ่ายผ่านบัตรไปแล้วหรือไม่  มิเช่นนั้นจะทำให้คุณไม่มีเงินเพียงพอต่อการชำระหนี้บัตรและดำรงชีวิต ก่อให้เกิดดอกเบี้ย และหนี้บัตรเพิ่มมากขึ้น

2. จ่ายเงินบัตรไม่ตรงตามกำหนดเวลา

การจ่ายเงินบัตรเครดิตไม่ตรงตามกำหนด อาจจะทำให้เกิดดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้น เงินต้นยังไม่มีเงินจะพอจ่าย หากต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มมาอีก คุณจะจ่ายไหวหรอคะ?

3. จ่ายบัตรเครดดิตเฉพาะยอดเงินขั้นต่ำ

การเลือกจ่ายบัตรเครดิต แน่นอนว่าคุณสามารถเลือกจ่ายบัตรในจำนวนเงินขั้นต่ำได้ แต่ดอกเบี้ยก็จะยังคงอยู่และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากคุณไม่จ่ายเต็มจำนวน รอแต่จ่ายยอดขั้นต่ำไปเรื่อยๆ แล้วเมื่อไหร่หนี้บัตรของคุณจะหมดละคะ

4. ใช้บัตรเครดิตหลายใบ

การสมัครบัตรเครดิตหลายใบ ไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป หากคุณไม่รู้จักใช้ เพราะนี่จะเป็นการสร้างหนี้สินหลายทาง จนคุณไม่สามารถหมุนเงินได้ทัน จนกลายเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว

5. เลือกบัตรเครดิตผิด

ก่อนสมัครบัตรเครดิต จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณต้องเลือกสมัครบัตรที่ตอบโจทย์ต่อการใช้ชีวิตของคุณที่สุด เพื่อที่คุณจะได้รับประโยชน์จากบัตร แต่ถ้าหากคุณเลือกผิด นอกจากบัตรจะช่วยเหลือคุณทางด้านการเงินไม่ได้แล้ว อาจจะทำให้คุณมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

5 วิธีเลือกบัตรเครดิตที่เหมาะกับเราเอง

ก่อนเลือกสมัครบัตรเครดิต คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าบัตรที่เราสมัคร จะเหมาะกับเราหรือเปล่า ดังนั้นวันนี้เรามีวิธีเลือกบัตรเครดิตที่เหมาะกับคุณเอง ซึ่งเป็น 5 วิธีเลือกบัตรขั้นพื้นฐานที่คุณควรรู้ก่อน สมัครบัตรเครดิต มาฝาก

1. เช็กไลฟ์สไตล์ตัวเอง

เพื่อที่คุณจะเลือกบัตรได้เหมาะสมกับตัวเองที่สุด อย่างแรกคือการเช็กไลฟ์สไตล์ของตัวเองให้ดี ว่าปกติแล้วคุณมักใช้จ่ายในเรื่องอะไรเป็นประจำ ใช้จ่ายด้านใดบ่อยที่สุด จากนั้นเลือกบัตรที่ให้สิทธิประโยชน์ที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ที่คุณใช้มากที่สุด เพื่อเป็นการประหยัด และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวคุณที่สุด เช่น เป็นสายกินก็ต้องเลือกบัตรที่มีคะแนนสะสมตามร้านอาหารชั้นนำ หรือถ้าเป็นสายช้อปก็ควรเลือกบัตรที่มี Cash Back ให้นำเงินกลับมาช้อปต่ออย่างคุ้มค่า

2. เช็กสิทธิประโยชน์ของบัตรเครดิตให้ละเอียด

การเช็กสิทธิประโยชน์ของบัตรแต่ละประเภท หรือบัตรที่สนใจก่อนเลือกสมัคร จะช่วยให้บัตรที่คุณได้รับมา เหมาะกับคุณที่สุด คุณจะได้รับประโยชน์จากบัตรมากที่สุด เริ่มตั้งแต่เรื่องค่าธรรมเนียม บัตรเครดิตใบที่เล็งไว้สามารถรูดจ่ายได้ทั่วโลกหรือไม่ รวมทั้งในบัตรเครดิตมีการผูกประกันชีวิตเอาไว้หรือเปล่า 

3. รู้จักคำนวณค่าใช้จ่ายของตัวเองในแต่ละเดือน

ก่อนจะรูดบัตรเครดิต คุณควรรู้ถึงรายจ่ายของตัวเองในแต่ละเดือนเสียก่อน ว่าปกติแล้วคุณมีรายจ่ายประจำเดือนเท่าไหร่ เหลือเก็บเท่าไหร่ และสามารถใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดได้มากน้อยแค่ไหน หลังจากนั้นก็ลองนำรายจ่ายต่างๆ มาคิดคำนวณว่ารายจ่ายไหนใช้เงินสดคุ้มกว่า หรือรายจ่ายไหนสามารถจ่ายผ่านบัตรเครดิตเพื่อสะสมคะแนนได้ เป็นการช่วยบริหารเงินให้ลงตัว และไม่สร้างภาระในอนาคตให้คุณ

4. ไม่สมัครบัตรเครดิตหลายใบ อันเป็นต้นเหตุของการเกิดหนี้

บางครั้งบัตรเครดิตแต่ละใบ ก็จะมีสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันไป หากคุณสมัครทุกใบ หรือถือบัตรเครดิตมากเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาทางการเงินของคุณได้ ดังนั้นเลือกสมัครเครดิตเฉพาะที่จำเป็น หรือสมัครบัตรที่เหมาะสมกับตัวเราเท่านั้น เพื่อความสะดวกในการใช้งาน และไม่เป็นการเปิดช่องให้หนี้สินหลั่งไหลมาจากหลายทางยังไงล่ะคะ

5. จ่ายยอดเต็มดีกว่าจ่ายขั้นต่ำ

สุดท้าย การเลือกชำระบัตรเครดิต ในแต่ละเดือนเพื่อไม่ก่อให้เกิดดอกเบี้ยเพิ่มพูน ควรเลือกชำระยอดจำนวนเต็มจะดีกว่า เพื่อเป็นการจัดการหนี้สินให้หมดไปในแต่ละเดือนเพราะนอกจากเงินต้นจะลด ยังจะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยบัตรมากเกินไปด้วย หากเลือกจ่ายขั้นต่ำบ่อยๆ ก็จะกลายเป็นดินพอกหางหมู เงินต้นเพิ่มไม่หยุด ดอกเบี้ยก็พุ่งทะยานจนฉุดไม่อยู่

การเลือกใช้บัตรเครดิตที่เหมาะสมกับตัวเรา เป็นสิ่งที่ดีที่คุณควรทำ ก่อนที่จะสมัครบัตรเครดิต เพราะจะทำให้คุณได้รับสิทธิประโยชน์จากบัตรอย่างสูงสุด ซึ่งหากคุณต้องการเปรียบเทียบบัตรเครดิตที่เหมาะกับคุณที่สุด Rabbit Care ยินดีให้บริการ พร้อมคำแนะนำดีๆ ตลอด 24 ชั่วโมง


บทความแคร์การเงิน

แคร์การเงิน

ไฟแนนซ์ คืออะไร จัดไฟแนนซ์รถ รีไฟแนนซ์บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า จัดไฟแนนซ์ ขอไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อกันมาพอสมควร แต่อาจจะยังไม่เข้าใจรายละเอียดเรื่องการจัดไฟแนนซ์ ว่ามีขั้นตอนอย่างไร
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

เป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม?

เรื่องหนี้สิน เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับคู่สมรส โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ที่เกิดจากการใช้จ่ายของทั้งสองฝ่าย ทั้งในกรณีที่ใช้จ่ายร่วมกัน
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

ผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารได้ไหม หรือควรทำอย่างไรดี

ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่น่าหนักใจสำหรับใครหลายคน เพราะดอกเบี้ยบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว
Thirakan T
11/04/2024