แคร์สุขภาพ

โควิด-19 เข้า! เบาหวานแทรก! อันตรายถึงชีวิต

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
Published June 08, 2020

สถานการณ์โควิด-19 ช่วงนี้ยังต้องเฝ้าระวังกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งในไทยและทั่วโลก อย่างที่เรารู้กันดีว่าเจ้าไวรัสร้ายเหล่านี้อาจจะไม่ร้ายแรงมากกับกลุ่มคนสุขภาพดี แต่กับผู้ที่มีโรคประจำตัวอย่าง ‘โรคเบาหวาน’ ถือว่าเป็นเรื่องน่ากังวล เพราะอาการอาจจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย ว่าแต่ทำไมผู้ป่วยเบาหวานถึงเสี่ยงมากขนาดนี้ ตามไปหาคำตอบกันดีกว่า

โควิด-19 เข้า! เบาหวานแทรก! อันตรายถึงชีวิต

ผู้เสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 มักมาจากโรคแทรกซ้อน

โควิด-19 แม้จะเป็นไวรัสที่สร้างความเสียหายให้กับระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย ตั้งแต่โพรงจมูก หลอดลม ไปจนถึงปอดอักเสบ แต่สำหรับผู้ป่วยมีโรคประจำตัว เจ้าไวรัสโควิด-19 จะเข้าไปก่อกวนระบบอื่น ๆ ในร่างกาย ทำให้โรคประจำตัวรุนแรงขึ้น จนอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยเบาหวานมากถึง 4.8 ล้านคน ซึ่งเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้วอาการอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ !

จากข้อมูลสถิติของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผู้เสียชีวิตด้วยเชื้อโควิด-19 นอกจากจะเป็นอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุแล้ว ส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ หรือมีโรคประจำตัว โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs อย่างเช่น  เบาหวาน และภาวะอ้วน

ผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงโควิด-19 อย่างไร?

  • มีระดับน้ำตาลที่สูงกว่าค่าปกติ
    ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานลดลง ทำให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ไม่ดี ไวรัสสามารถเติบโตและกระจายตัวได้ง่ายขึ้น
  • โรคร่วมหรือภาวะแทรกซ้อน
    ผู้ป่วยเบาหวานที่คุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี มักจะมีโรคร่วม หรืออาการแทรกซ้อน ทำให้เมื่อติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีโอกาสที่อาการรุนแรงมากขึ้น และมีผลข้างเคียงง่ายกว่าคนทั่วไป
  • การอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส ทำให้อาการรุนแรงขึ้น
    เมื่อผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส COVID-19 ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อต้านไวรัสและเกิดการอักเสบ ปฏิกิริยาการอักเสบนี้จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันและโรคที่เป็นผลข้างเคียงจากเบาหวานนั่นเอง

หากคุณเป็นเบาหวานพร้อมกับติดเชื้อโควิด-19 ความเสี่ยงในการเสียชีวิตก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากโควิด-19 จะเจริญเติบโตได้ดีในภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากน้ำตาลเป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย 

หนักกว่าเดิม แรงกว่าเดิม เมื่อเป็นเบาหวานในกลุ่มวัยรุ่น

สำหรับโรคเบาหวานในไทย จากสถิติจะพบว่าคนวัยหนุ่มสาวเป็นกันมากขึ้น  เนื่องมาจากไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ ที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกินที่มีให้เลือกหลากหลายจนเผลอตามใจปาก หรือทำงานหนักจนไม่มีเวลาออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้อายุลดลงเรื่อย ๆ แม้แต่เด็ก ๆ วัยประถมก็ยังเป็นเบาหวานได้!

ที่น่าตกใจสุด ๆ คือ โรคเบาหวานที่เกิดในวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว และผู้ใหญ่ตอนต้นนั้น มีข้อมูลชี้ชัดว่าโรคมีความรุนแรงกว่าโรคที่เกิดในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ รวมถึงตอบสนองต่อการรักษาได้น้อยกว่า นำไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ อย่างรวดเร็วและรุนแรงกว่า ไม่ว่าจะเป็น โรคความดันโลหิต โรคตับ หรือโรคไต ซึ่งแน่นอนว่าการติดเชื้อโควิด-19 ก็อาจส่งผลทำให้เสียชีวิตได้ง่ายเช่นกัน

ไม่ใช่แค่ไทยที่เป็นปัญหา แต่ทั่วทั้งเอเชียก็เป็นปัญหา!

เบาหวานเป็นโรคที่สามารถเป็นได้เมื่อคุณละเลยสุขภาพ หรือมองข้ามการดูแลตัวเองทั้งที่อายุยังน้อย ด้วยเหตุนี้เอง ไม่ใช่แค่ที่ไทยเท่านั้นที่มีปัญหาผู้ป่วยโรคนี้เพิ่มสูงขึ้น แต่ทั่วทั้งเอเชียต่างประสบปัญหาโรคเบาหวานเช่นกัน 

Sun Life Financial Asia ได้เผยแพร่สถิติเบาหวานจากทั่วโลก ในปี 2019 ว่า มีผู้ใหญ่ที่ป่วยมากกว่า 422 ล้านคน และทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่า 1 ล้านคน ในปี 2560

ที่น่าตกใจคือ มากกว่า 60% ของผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลก หรือราว ๆ 253 ล้านคน เป็นผู้ป่วยจากแถบเอเชีย

นอกจากนี้ จำนวนประชากรในเขตเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า ภายในปี 2593 จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ป่วยทั้งในเอเชีย และในไทยเอง มีผู้ป่วยโรคเบาหวานค่อนข้างมาก ซึ่งนั่นนำไปสู่ความเสี่ยงที่ถึงแก่ชีวิต ยิ่งในช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาดแบบนี้ ทำให้กลุ่มผู้ป่วยโรคนี้ต้องระมัดระวังตัวเองเพิ่มมากเป็นอีกเท่าตัว 

ปฏิบัติตัวอย่างไรให้ห่างไกลโรคเบาหวาน

คำแนะนำของสมาคมแพทย์ต่อมไร้ท่ออเมริกา (American Association of Clinical Endocrinologists) ที่สามารถนำมาปรับใช้กับไลฟ์สไตล์ของคนไทยที่ป่วยโรคเบาหวานในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 ระบาด มีดังนี้

  1. รับประทานยา หรือฉีดยาตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด รวมทั้งเตรียมอุปกรณ์ให้ครบถ้วน เช่น เข็มฉีดยา ชุดตรวจระดับน้ำตาล สำรองไว้ในกรณีที่มีการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินอย่างต่อเนื่อง
  2. ไม่ควรออกไปข้างนอกที่มีคนพลุกพล่าน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือถ้าจำเป็นต้องออกไปก็ให้สวมใส่หน้ากากอนามัย และหมั่นล้างมืออย่างสม่ำเสมอด้วยเจลล้างมือ หรือฟอกสบู่ให้ถูกวิธีอย่างน้อย 20 วินาที
  3. ขณะไอหรือจามจะต้องปิดปากด้วยกระดาษทิชชู่ ผ้าเช็ดหน้า หรืองอข้อศอก เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่คนรอบข้าง
  4. ไม่เอามือไปสัมผัสบริเวณดวงตา ปาก หรือจมูก
  5. หากสังเกตพบอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ ไอ หายใจลำบาก หรือแน่นหน้าอก รวมทั้งมีประวัติใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ ให้ไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ทันที

ไม่ว่าจะเป็นเบาหวานหรือไม่ การระมัดระวังตัวเองในช่วงนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเบาหวานถือเป็นโรคไม่ติดต่อที่คร่าชีวิตคนไทยจำนวนมาก ใครที่ไม่อยากเสี่ยง อยากเพิ่มความอุ่นใจให้กับตัวเอง นอกจากการดูแลรักษาสุขภาพแล้ว ต้องนี่เลย ประกันโรคเบาหวาน จาก Rabbit Care ที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้คุณอุ่นใจ ไร้กังวล พร้อมเข้ารับการรักษาอย่างเต็มที่

สนใจ ประกันสุขภาพโรคเบาหวาน คลิกเลย !

 


 

บทความแคร์สุขภาพ

แคร์สุขภาพ

โยคะ (Yoga) มีประโยชน์อย่างไร สามารถบำบัดทั้งร่างกายและจิตใจได้จริงหรือไม่ ?

โยคะ หนึ่งในศาสตร์การออกกำลังกายที่แน่นอนว่าหลายคนคงคุ้นหูกันเป็นอย่างดีและทราบกันถึงประโยชน์หลาย ๆ อย่างที่โยคะมีต่อร่างกายของคนเรา
Nok Srihong
11/04/2024

แคร์สุขภาพ

ดนตรีบำบัด คืออะไร ? ดนตรีสามารถบำบัดจิตใจและความเครียดได้จริงหรือไม่ ?

เราต่างก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเสียงดนตรีสามารถช่วยให้เกิดความผ่อนคลายของร่างกายและจิตได้
Nok Srihong
11/04/2024