โรคมะเร็งเป็นหนึ่งในโรคที่พบกันมากขึ้นเรื่อยๆในประเทศไทยไม่ว่าจะเพศชาย หรือ เพศหญิง และอย่างที่ทุกคนก็รู้กันดีอยู่แล้วว่า โรคมะเร็งเป็นโรคที่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ยิ่งคนที่เป็นมะเร็งระยะหลังๆที่ตัวเราเองก็ไม่แน่ใจว่าเมื่อรักษาแล้วจะหายขาดหรือเปล่า หรือเราจะเสียเงินจำนวนมากไปโดยเปล่าประโยชน์
เรื่องเหล่านี้ค่อนข้างเป็นเรื่องที่ทำให้เรารู้สึกปวดหัวจริงๆ แต่ทุกคนไม่ต้องเป็นกังวลไปค่ะ เพราะ สิทธิประกันสังคม ที่เราจ่ายกันทุกเดือนนั้นก็คุ้มครองเราจากโรคมะเร็งด้วยเช่นกัน !
ประกันสังคมคืออะไร ทำไมต้องทำด้วย?
ประกันสังคม เป็นระบบที่บังคับให้ทุกคนออมเงินส่วนหนึ่ง เพื่อเป็นหลักประกันว่าเราจะได้รับความคุ้มครองใน กรณีที่เราเกิดอุบัติเหตุ เจ็บป่วย หรือเสียชีวิต โดยจะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องค่าใช้จ่ายของเราในกรณีที่เราจะต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนมากสำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งประกันสังคมจะมีทั้งหมด 2 แบบ ได้แก่
มาตรา 33
จะเป็นประกันสังคมภาคบังคับที่บริษัทจะต้องทำให้พนักงาน หรือ ลูกจ้าง โดยพนักงานจะต้องส่งเงินสมทบเข้าสำนักงานประกันสังคม 5% ของฐานเงินเดือน และนายจ้างต้องสมทบให้อีก 5 % เพื่อที่ผู้ประกันจะได้รับสิทธิประโยชน์ในกรณีที่ เจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุ ทุพพลภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน
- มาตรา 39
เป็นประกันตนภาคสมัครใจ กรณีที่เคยทำงานบริษัทและประกันตนในมาตรา 33 มาก่อน แต่เกิดตกงานหรือลาออก แล้วยังต้องการรับสิทธิ์จากประกันสังคมอยู่ ก็สามารถสมัครในมาตรา 39 ได้
โดยจะต้องส่งเงินเข้ากองทุน 432 บาท ส่วนรัฐบาลจะสมทบอีก 120บาท/เดือน โดยจะได้สิทธิประโยชน์ได้แก่ เจ็บป่วย อุบัติเหตุ ทุพพลภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ
มะเร็ง 10 ชนิดที่สามารถใช้สิทธิประกันสังคม รักษาได้ฟรี
การรักษาโรคมะเร็งนั้นได้อยู่ในข้อกำหนดของ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในกรณีเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุไว้ว่า ผู้ประกันตนสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล รวมถึงค่าทำฟัน สิทธิบริการรากฟันเทียม สิทธิการรักษาโรคทางจิต การบำบัดไต ยาต้านไวรัสเอดส์ การรักษาโรคมะเร็ง 10 ชนิด และยังสามารถขอรับเงินทดแทนเนื่องจากขาดรายได้ในกรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างในระหว่างที่หยุดงานเพื่อรักษาพยาบาล ซึ่งจะจ่ายให้ร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายเดือน
ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ประกาศ ณ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 การรักษาโรคมะเร็ง 10 ชนิด ซึ่งจะต้องให้การรักษาตามแนวทางที่กำหนด ดังนี้
- มะเร็งเต้านม
- มะเร็งปากมดลูก
- มะเร็งรังไข่
- มะเร็งโพรงจมูก
- มะเร็งปอด
- มะเร็งหลอดอาหาร
- มะเร็งลำไส้ใหญ่ และ ลำไส้ส่วนปลาย
- มะเร็งตับ และท่อน้ำดี
- มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
- มะเร็งต่อมลูกหมาก
ในกรณีที่เราป่วยเป็นโรคมะเร็งชนิดอื่นที่ไม่ใช่ 10 ชนิดนี้ เราสามารถใช้สิทธิประกันสังคมรักษาโรคมะเร็งได้ตามข้อกำหนดของโรงพยาบาลต้นสังกัด แต่ถ้าหากจะต้องใช้เคมีบำบัด รังสีรักษา หรือยารักษาโรคมะเร็ง ทางบริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริง หรือ ไม่เกิน 15,0000 บาท/ปี
หากเราต้องการรักษาโรคมะเร็งโดยใช้สิทธิประกันสังคมกับโรงพยาบาลอื่นที่เรามาได้ใช้สิทธิประกันสังคมไว้ จะต้องมีใบส่งตัวจากโรงพยาบาลต้นสังกัดไปโรงพยาบาลที่มีความจำนงจะเข้ารับการรักษา
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการใช้สิทธิประกันสังคมเพื่อรักษาโรคมะเร็ง (สำนักงานประกันสังคม)
ผู้ป่วยต้องรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ
ซึ่งสถานพยาบาลจะให้บริการทางการแพทย์จนสิ้นสุดการรักษา โดยไม่จำกัดจำนวนค่าใช้จ่ายและจำนวนครั้งในการรักษา
สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิจะไม่เก็บเงินค่าบริการทางการแพทย์จากผู้ประกันตน
ยกเว้น ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายการบริการอื่นๆที่อยู่นอกเหนือสิทธิประกันสังคม
ในกรณีที่สถานพยาบาลตามใบรับรองสิทธิไม่สามารถให้บริการได้
จะทำการส่งตัวไปรักษาในโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า โดยผู้ป่วยจะต้องมีใบส่งตัวจากสถานพยาบาล
**ถ้าหากคุณต้องการสอบถามรายละเอียดเงื่อนไขเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่โรงพยาบาลทุกแห่ง**
ถึงแม้ว่า สิทธิประกันสังคมจะคุ้มครองเราจากโรคมะเร็ง หรือโรคภัยอื่นๆ แต่เราก็ไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ เพราะบางครั้งสถานพยาบาลที่เราเลือกใช้บริการ อาจจะมีระยะเวลาในการดำเนินการค่อนข้างนาน และไม่สะดวกสักเท่าไร
จึงทำให้ปัจจุบันได้มีประกันภัยรูปแบบหนึ่งเพิ่มขึ้น นั่นก็คือ ประกันโรคมะเร็ง ที่จะให้ความคุ้มครองโรคมะเร็งที่มากขึ้นกว่าประกันสังคม นอกจากนี้เมื่อไรก็ตามที่ทุกตรวจพบมะเร็งในร่างกาย คุณก็ได้รับเงินก้อนคืนไปเลยเต็มๆ โดยที่ไม่ต้องตรวจสุขภาพล่วงหน้า
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมปรึกษา rabbit finance