จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณะสุข พบว่าคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งกว่า 60,000 คนต่อปี สามารถเฉลี่ยออกมาได้เป็น 7 คนต่อชั่วโมง โดย มะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศชาย คือ มะเร็งตับและทางเดินน้ำดี, มะเร็งปอด, มะเร็งลำไส้ใหญ่ และ ทวารหนัก ส่วนมะเร็งที่พบมากในผู้หญิง คือ มะเร็งเต้านม, มะเร็งปากมดลูก, มะเร็งตับและทางเดินน้ำดี
ถึงแม้ว่าจะไม่มีโรค “มะเร็งช่องปาก” ติดอยู่ในรายชื่อที่คนเสี่ยงเป็นมะเร็งมากที่สุด 3 อันดับแรกในประเทศไทย แต่คุณก็ไม่ควรที่จะชะล่าใจค่ะ เพราะในปัจจุบันอัตราการพบมะเร็งในช่องปากมีเพิ่มมากขึ้น โดยมักพบในกลุ่มบุคคลที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงอีกด้วย
[rabbitads slug=banner1]
ทำความรู้จัก มะเร็งช่องปาก
มะเร็งช่องปาก
เป็นส่วนหนึ่งของโรคมะเร็งในกลุ่มโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดดังนี้
-
ชนิดสะความัส (Squamous cell carcinoma – SCC)
เป็นมะเร็งรูปแบบหนึ่งที่พบได้บ่อย เกิดจากเซลล์ที่ทำหน้าที่ปกคลุมผิวหนังชั้นนอก โดยทั่วไปแล้วมะเร็งชนิดนี้อาจจะรุนแรง แต่ก็มักไม่ทำให้เสียชีวิต อย่างไรก็ตามหากไม่ได้รับการรักษา มะเร็งจะโตหรือมีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
-
ชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา (Adenocarci noma) หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นจากเซลล์ของต่อมน้ำเหลืองโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อเป็นต้น มะเร็งที่ลุกลามจากอวัยวะอื่นแล้วแพร่กระจายเข้ามาที่ต่อมน้ำเหลือง อาจทำให้เกิดอาการต่อมน้ำเหลืองโตได้ก็จริง แต่ในทางการแพทย์จะไม่เรียกว่า “มะเร็งต่อมน้ำเหลือง” แต่จะเรียกตามมะเร็งที่อวัยวะนั้นแพร่กระจายมาที่ต่อมน้ำเหลืองมากกว่า
ซึ่งมะเร็งชนิดที่ 2 นั้นเป็นชนิดที่พบได้น้อยมาก ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นชนิด SCC มากกว่า ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เป็นมะเร็งช่องปากอาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่ทุกคนไม่คาดคิด
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นมะเร็งช่องปาก
1. การสูบบุหรี่และดื่มสุรา
ผู้ที่สูบบุหรี่ และ ดื่มสุรา มีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่และดื่มสุราถึง 15 เท่า จากสถิติพบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปากร้อยละ 90 เป็นผู้ที่สูบบุหรี่และดื่มสุรา สาเหตุเกิดจากควันบุหรี่และแอลกอฮอล์ทำให้เกิดการระคายเคือง จนเนื้อเยื่อเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและอาจกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
2. การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ร้อนจัดเกินไป
ถึงแม้ว่าการรับประทานอาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ๆ จะอร่อยมากแค่ไหน แต่การที่คุณรับประทานอาหารที่ร้อนมากเกินไป เป็นประจำย่อมทำให้เนื่อเยื่อในช่องปากได้รับผลกระทบ และอาจทำให้กลายเป็นเซลล์มะเร็ง
3. เคี้ยวหมากพลู
การเคี้ยวหมากและอมไว้ที่กระพุ้งแก้มเป็นประจำ จะทำให้เกิดการระคายเคืองจากความแข็งของหมากที่เคี้ยว นอกจากนี้ปูนที่ใช้ทานกับหมากยังกัดเนื้อเยื่อในช่องปากและทำให้เซลล์ของเนื้อเยื่อกระพุ้งแก้มเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย แม้ว่าในปัจจุบันคนไทยรุ่นใหม่จะไม่ค่อยมีใครเคี้ยวหมากพลูกันแล้ว แต่การรับรู้ข้อมูลไว้ก่อนก็เป็นเรื่องที่ดี
4. ปัญหาสุขภาพช่องปาก
ฟัน มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งช่องปากได้ หากเกิดกรณีฟันแตก ฟันบิ่น ขอบฟันคม จนบาดเนื้อเยื่อในช่องปาก ทำให้เป็นแผลเรื้อรังอยู่นานจนกลายเป็นมะเร็ง โดยเฉพาะผู้ที่สุขภาพในช่องปากไม่ดี แปรงฟันไม่สะอาด มีหินปูน และคราบฟัน จะมีส่วนทำให้แผลกลายเป็นมะเร็งได้ง่ายขึ้น
5. แสงแดด
เป็นที่ทราบกันดีค่ะว่าแสงแดดสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้ เนื่องจากแสงอัลตราไวโอเลต หรือ รังสี UV ที่มาจากดวงอาทิตย์ จะทำให้เกิดอันตรายต่อผิวหนัง แม้ว่าวันนั้นอากาศจะอบชื้น เมฆหนา แต่เชื่อหรือไม่คะว่า รังสี UV สามารถส่องถึงคุณได้ ดังนั้น การทาครีมกันแดด หรือลิปที่มีสารกันแดดจะช่วยได้พอสมควร
[rabbitads slug=banner2]
6. โรคติดเชื้อเรื้อรัง เช่น วัณโรค
การป่วยเป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังอย่าง วัณโรค จะทำให้มีอาการไออยู่บ่อยครั้ง เมื่อมากๆ เข้าอาจทำให้เกิดการระคายเคือง เมื่อถูกระคายเคืองอยู่เป็นประจำ ทำให้เนื้อเยื่อเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และอาจทำให้กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
7. การระคายเคืองเรื้อรังจากอุปกรณ์ทันตกรรม
การระคายเคืองเรื้อรังจากอุปกรณ์ทันตกรรม อาทิเช่น ฟันปลอม, เหล็กดัดฟัน, เนื้อฟันปลอมสำหรับอุดฟัน ทำให้เกิดแผลในปากเพราะอุปกรณ์เหล่านี้บ่อยๆ ทำให้เนื้อเยื่อในช่องปากเกิดการระคายเคือง จนท้ายที่สุดอาจลุกลามกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
สัญญานเตือนภัยมะเร็งช่องปาก รู้เร็ว รักษาทัน
อาการที่จะกล่าวต่อไปนี้อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคนในชีวิตประจำวันทั่วไป จนคุณหลงลืมที่จะใส่ใจกับมัน กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ตอนที่มันลุกลามไปไกลแล้ว ดังนั้น คุณควรหมั่นสังเกตสุขภาพภายในช่องปากอยู่เสมอ หากมีอาการ 6 ข้อ ดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาโดยด่วน
- เป็นแผลเรื้อรังในช่องปากนานเกิน 2 สัปดาห์
- ลิ้นมีฝ้าสีขาวหรือสีแดงที่ถูไม่ออก
- ขอบลิ้นหรือขอบริมฝีปากมีลักษณะแข็งเป็นไต
- เจ็บคอเรื้อรังเสียงแหบกลืนลำบาก
- มีอาการแสบลิ้น
- พบก้อนเนื้อที่ปากหรือคอ
เชื่อว่าหลังจากที่อ่านบทความนี้จบแล้วคุณผู้อ่านคงเริ่มที่จะหันมาใส่ใจสุขภาพร่างกายกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดูแลตัวเองด้วยโภชนาการอาหารที่ดี การรักษาความสะอาดของร่างกาย และ การหมั่นตรวจสุขภาพทุก 6 เดือน เพราะ นอกจากจะทำให้ คุณภาพชีวิตดีขึ้น แล้วยังช่วยให้ห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บอีกด้วย