ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าช่วงฤดูฝนเป็นฤดูที่ยุงชุกชุมมากเป็นพิเศษ ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคจากยุงได้ เพราะยุงเป็นพาหะนำโรคร้าย ๆ หลายชนิดมาสู่คนได้ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคมาลาเลีย โรคเท้าช้าง และโรคไข้สมองอักเสบ วันนี้ rabbit finance ได้รวบรวมชนิดของยุงร้ายที่ต้องระวังมาฝากกัน
4 ประเภทยุงร้าย ที่นำโรคร้าย ๆ มาสู่คน
ยุง ถือว่าเป็นสัตว์ตัวจิ๋วที่พิษสงล้นเหลือ เพราะนอกจากจะกัดให้รู้สึกแสบ ๆ คัน ๆ หรือรำคาญแล้วนั้น ยุงแต่ละชนิดก็ยังเป็นสาเหตุของโรคร้ายต่าง ๆ มากมาย ซึ่งไม่ได้มีเพียงโรคไข้เลือดออก หรือไข้มาลาเรียเท่านั้น ว่าแต่ยุงมีกี่ประเภทกันแน่ แล้วยุงตัวไหนนำโรคร้ายอะไรมาสู่เราได้บ้าง ตามไปดูกันเลยค่ะ
1.ยุงลาย (Aedes)
ยุงลายเป็นชนิดที่พบมากที่สุด ตามครัวเรือนทั่วไป ซึ่งยุงลายสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
- ยุงลายบ้าน ส่วนใหญ่จะวางไข่บนบริเวณน้ำขัง โดยเฉพาะที่อยู่ในภาชนะต่าง ๆ เช่น ตุ่มน้ำ ยางรถยนต์เก่า แจกัน กระถางต้นไม้ ถ้วยรองตู้กับข้าว กระป๋องต่าง ๆ ซึ่งยุงลายบ้านเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย
- ยุงลายสวน มักพบได้ตามสวนผลไม้ สวนยาง หรืออุทยานต่าง ๆ ที่มีความรกทึบ แสงแดดส่องไม่เป็นพาหะนำโรคไข้ชิคุนกุนยา และไข้เลือดออก
ทั้งนี้ ยุงลายมีสีดำ วางไข่ครั้งละ 140 ฟอง ไข่จะใช้เวลาฟักตัวภายใน 4 วัน มักจะชอบวางไข่ทีละฟองในภาชนะที่มีน้ำขัง และชอบกินเลือดคน ออกหากินเวลากลางวัน หากที่บ้านมีเด็กเล็กและชอบนอนกลางวัน ก็ควรมีมุ้ง หรือติดตั้งมุ้งลวดเพื่อป้องกันยุงร้ายเหล่านี้
2.ยุงก้นปล่อง (Anopheline)
ในประเทศไทยมียุงก้นปล่องกว่า 73 สายพันธุ์ แต่มีเพียง 3 สายพันธุ์ที่เป็นพาหะนำโรคมาลาเรีย ซึ่งเกิดจากเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียมที่มากับยุง ซึ่งโรคมาลาเรียเป็นโรคที่อันตรายมาก เนื่องจากผู้ที่ติดเชื้อมีโอกาสเสียชีวิตได้เลยนะคะ ซึ่งอาการป่วยจะปรากฏหลังถูกยุงกัด 10-14 วัน อาการที่พบทั่วไป คือ ผู้ป่วยจะมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรงที่เรียกว่ามาลาเรียขึ้นสมอง ปวดศีรษะรุนแรง ตับโต น้ำตาลในเลือดต่ำ ไตวาย และเสียชีวิตในที่สุด
3.ยุงรำคาญ (Culex)
พบบ่อยในช่วงฤดูฝน แถบทวีปแอฟริกาและเอเชีย ออกหากินในเวลากลางคืน มักจะชอบดูดเลือดคนและสัตว์เลือดอุ่นอย่างวัว ควาย และหมู ซึ่งเป็นพาหะนำโรคเท้าช้าง โรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก โรคชิกุนกุนย่า และโรคไข้สมองอักเสบ
โดยยุงรำคาญชนิดนี้มักวางไข่เป็นแพ ซึ่งใน 1 แพ มีประมาณไข่ 153 ฟอง โดยจะชอบฟักตัวในบริเวณที่มีน้ำขังเน่าเสีย เช่น ในท่อระบายน้ำ ยางรถยนต์ที่มีน้ำขัง ตุ่มใส่น้ำ หรือในภาชนะน้ำขังสกปรก โดยทั่ว ๆ ไป น้ำลายของยุงชนิดนี้ก่อให้เกิดอาการคันและมีตุ่มแดงผุดขึ้นบนผิวหนัง หากเกาแรง ๆ อาจจะทำให้เป็นแผลและยิ่งมีโอกาสอักเสบมากขึ้น
4.ยุงลายเสือ หรือยุงแมนโซเนีย (mansonia)
มีแหล่งเพาะพันธุ์ตามแอ่ง หรือหนองน้ำที่มีวัชพืชและพืชน้ำต่าง ๆ เช่น จอกแหน ผักตบชวา แพงพวยน้ำ หรือหญ้าปล้อง ชอบกัดกินเลือดของสัตว์และคน ออกหากินเวลากลางคืนและเวลากลางวัน โดยยุงชนิดนี้เป็นพาหะของโรคเท้าช้างที่มาจากเชื้อไมโคร ฟิลาเรีย พบมากบริเวณที่ราบทางฝั่งตะวันออกของภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงนราธิวาส และบริเวณชายแดนไทย – พม่า
ยุงลายเสือที่มีในประเทศไทยมีด้วยกันประมาณ 412 ชนิด เป็นยุงขนาดใหญ่ เส้นปีกมีเกล็ดใหญ่สีอ่อนสลับเข้มปกคลุม บางชนิดมีสีเหลือง ขาวสลับดำคล้ายลายของเสือโคร่ง และบางชนิดมีลายออกเขียวคล้ายตุ๊กแก ขาลายเป็นปล้อง ๆ บริเวณขามีสีแบบตกกระ มีแถบขาวล้อมรอบ เห็นปุ๊บก็รู้เลยว่าเป็นยุงลายเสือ
ประกันต้านยุงตัวยุ่ง โดยกรุงเทพประกันภัย
เมื่อทราบถึงอันตรายของยุงแต่ละประเภทที่จะมานำมาซึ่งโรคร้าย ที่อาจคร่าชีวิตเราลงไปได้ ก็อย่าลืมระวังตัวอย่าให้โดนยุงกัด ไม่ปล่อยให้ยุงเข้าบ้านและหมั่นกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงทั้งภายในและภายนอกบริเวณที่อยู่บ้าน
อย่างไรก็ตาม การควบคุมและกำจัดยุงบางครั้งก็ควบคุมได้ยาก ฉะนั้นแล้วการทำ ประกันต้านยุงตัวยุ่ง โดยกรุงเทพประกันภัย จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีการป้องกันที่ดีได้ เพราะประกันประเภทนี้ให้ความคุ้มครองถึง 5 โรคร้ายที่เกิดจากยุง ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา โรคไข้สมองอักเสบ เจ อี โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรชิคุนกุนยา และโรคไข้จับสั่น หรือไข้ป่า นั่นเอง
โดยความคุ้มครองนั้นผลประโยชน์จะชดเชยปลอบขวัญ กรณีเป็นผู้ป่วยในติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 วัน ชดเชย 1 ครั้งตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย ในทุนประกันภัย 60,000 บาท และผลประโยชน์ชดเชยรายวัน กรณีเป็นผู้ป่วยในสูงสุด 30 วัน นับจากวันแรกที่เข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน 1 ครั้งตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย ด้วยทุนประกันภัย 1,600 บาท เบี้ยประกันรายปีเพียง 360 บาท เท่านั้น
สนใจทำประกันยุงได้ที่ rabbit finance คลิกเลย!