- ฤดูร้อนไปแล้ว ฤดูฝนกำลังจะก้าวเข้ามา ต้องระวังโรคภัยต่าง ๆ มากเป็นพิเศษ ควรเริ่มดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคติดต่อที่มากับหน้าฝน ซึ่งโรคที่ควรระวัง มีด้วยกัน 7 โรคยอดฮิต แน่นอนว่า rabbit finance ก็ได้รวบรวมข้อมูลมาฝากกันแล้ว
7 โรคยอดฮิตในวันฝนพร่ำ
1.โรคจากไวรัสต่าง ๆ
โรคจากไวรัส ทำให้เป็นหวัดคัดจมูกและเกิดอาการไข้สูงได้ ต้องระวังการโดนละอองฝนให้มาก เพราะอาจเจ็บป่วยไม่สบาย จนถึงขั้นหลอดลมฝอยอักเสบ เนื่องจากในละอองฝนมีเชื้อไวรัสและแบคทีเรียมากมาย รวมไปถึงไวรัสโควิด-19 ที่กรมควมคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ออกคำเตือนการรับมือในช่วงหน้าฝน จากอุณภูมิที่ลดลงจะเพิ่มโอกาสอยู่รอดของเชื้อไวรัสในสภาพแวดล้อมได้นานขึ้น ก็จะเพิ่มโอกาสให้การแพร่ระบาดของไวรัสได้ง่ายเช่นกัน โดยซึ่งการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 มาจาก 2 สาเหตุคือ การสัมผัสสารคัดหลั่งในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ และการหายใจนำเชื้อเข้าไปในร่างกายโดยตรง ซึ่งมาจากเชื้อไวรัสโควิด ที่อยู่ในอากาศนานที่สุด 4 ชั่วโมง
2.โรคฉี่หนู หรือ โรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis)
เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน พบในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง เพราะน้ำฝนจะชะล้างเชื้อโรค สิ่งสกปรกจากทุกแห่ง รวมถึงเชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปร่าซึ่งมีชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำได้นานถึง 30 วัน ซึ่งเชื้อเลปโตสไปร่าอยู่ในปัสสาวะของสัตว์ที่เป็นพาหะโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหนู โดยจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดหัวรุนแรง คลื่นไส้อาเจียน เยื่อบุตาแดง หากมีอาการปวดกล้ามเนื้อมากกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณน่อง หลัง และต้นคอ ให้รีบมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษา
3.โรคไข้เลือดออก
เกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่ (Dengue Virus) ซึ่งมีด้วยกัน 4 สายพันธุ์ ได้แก่ DENV-1 , DENV-2 , DENV-3 , DENV-4 มียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรค ซึ่งยุงลายจะเพาะพันธุ์ได้ดีในหน้าฝนที่มีฝนตกลงมาท่วมขัง โดยจะมีอาการไข้ขึ้นสูงตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียส ไข้ไม่ยอมลด ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง รู้สึกอ่อนเพลีย หากมีผื่นหรือพบจุดเลือดออกตามผิวหนัง หลีกเลี่ยงการซื้อยามาทานเองโดยเด็ดขาด ควรให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะบางรายหากมีอาการรุนแรงมากอาจเกิดภาวะไหลเวียนเลือดล้มเหลว ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงมีโอกาสเสียชีวิตได้
4.ผิวหนังอักเสบ
น้ำฝนที่ขังตามพื้นถนนนาน ๆ จนกลายเป็นน้ำเน่าเหม็น ทำให้เชื้อโรคหลายชนิดแพร่ระบาดได้ง่าย หากไม่ดูแลรักษาความสะอาดให้ถูกวิธีจะทำให้เกิดโรคผิวหนังจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา รวมถึงผิวหนังอักเสบได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคน้ำกัดเท้า เกิดจากการแช่น้ำหรือเดินย่ำน้ำนานเกินไป จนเป็นเหตุให้ผิวหนังเปื่อยยุ่ย และเกิดอาการระคายเคือง โรคเท้าเหม็น หรือโรคกลาก ที่มีอาการผื่นแดงตามซอกพับ เช่น ขาหนีบ รักแร้ ซอกนิ้วเท้า มีอาการคันมาก เป็นต้น ช่วงหน้าฝนจึงควรล้างมือล้างเท้าบ่อย ๆ เพื่อเป็นการชำระล้างสิ่งสกปรกให้ออกจากร่างกาย
5.ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ
เป็นอีกหนึ่งโรคที่มักเกิดขึ้นในฤดูฝน คือ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร เพราะเมื่ออากาศมีความชื้นมาก จะทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตและแพร่เชื้อได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้อาหารสดตามตลาดอาจได้รับเชื้ออีโคไลจากน้ำฝนที่ปนเปื้อน ซึ่งเชื้ออีโคไลนี้เป็นเชื้อที่ทำให้ลำไส้อักเสบติดเชื้อ จึงเกิดความผิดปกติในระบบย่อยอาหารตามมา ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษหรือท้องเสียได้ ฉะนั้นแล้วก่อนจะกินอะไรก็ต้องดูให้ดีก่อน หรือทางที่ดีควรทำความสะอาดให้เกลี้ยงก่อนการปรุงสุก หรือเลือกรับประทานอาหารร้อน ๆ ทำเสร็จใหม่ ๆ
6.โรคเยื่อบุตาอักเสบ หรือโรคตาแดง
โรคตาแดงเป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อย และมักระบาดในช่วงฤดูฝน ติดต่อได้ง่ายด้วยการสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นมือ แขน เสื้อผ้า ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า หากสิ่งเหล่านี้ไปสัมผัสเชื้อไวร้สตามที่ต่างๆ หรือในน้ำสกปรก แล้วเผลอมาป้ายตาเข้า เชื้อไวรัสจะเข้าสู่ดวงตาทันทีทำให้เกิดอาการเคืองตา คันตา รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา เมื่อรู้สึกได้ถึงอาการเช่นนี้ ก็ควรต้องรีบไปพบจักษุแพทย์ทันที เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป
7.โรคมาลาเรีย
เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบมากในช่วงฤดูฝน ซึ่งจะมีปริมาณยุงชุกชุมมากกว่าฤดูอื่น โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค อาการป่วยจะปรากฏหลังถูกยุงกัด 10 – 14 วัน ได้แก่ มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรงที่เรียกว่ามาลาเรียขึ้นสมอง จนปวดศีรษะรุนแรง ตับโต น้ำตาลในเลือดต่ำ ไตวาย และเสียชีวิตได้ หากเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว หรือหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อมาลาเรีย จะมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ ต้องรีบไปพบแพทย์เป็นการด่วน
ช่วงหน้าฝนแบบนี้ต้องระวังเป็นพิเศษกับโรคต่าง ๆ ที่จะตามมา หากรู้สึกไม่ค่อยดี มีไข้ ก็ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคให้ถูกทาง และถ้ามีประกันสุขภาพ คู่ใจไว้สักหน่อยคงจะดี เพราะนอกจากให้คุณรักษาได้เต็มที่ ยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้อีกด้วยนะคะ
สนใจ “ประกันสุขภาพ” เข้ามาเปรียบเทียบเบี้ยประกัน ที่นี่!