แคร์การเงิน

รวมมิตรแหล่งออมเงิน ปูทางสู่การเกษียณที่ยั่งยืน

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
Published March 03, 2020

เศรษฐกิจไทยยังลุ่ม ๆ ดอน ๆ แบบนี้ ไม่ว่าจะทำงานอะไรก็ห้ามประมาท แน่นอนว่าการเก็บออมเงินเพื่อการเกษียณในอนาคตเองก็ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัว ดังนั้นมาวางแผนหาแหล่งออมเงินเพื่อตอนเกษียณกันดีกว่า 

รวมแหล่งออมเงินสำหรับหนทางสู่การเกษียณ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 

เรียกได้ว่าเป็นแหล่งออมเงินเกษียณที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด! เหมาะอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย เพราะทำได้ง่าย และบังคับออมเงินได้จริง โดยเราสามารถสะสมเงินเข้ากองทุนเหล่านี้ได้ตั้งแต่ 2-15% ของเงินเดือน ตามเงื่อนไขของทางบริษัท และหักจากเงินเดือนได้โดยตรง ไม่ต้องกลัวว่าจะมือลั่นใช้เงินหมดจนไม่เหลือเงินออม

นอกจากนี้ ควรเลือกนโยบายการลงทุนให้เหมาะกับช่วงวัยหรือระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และแนะนำให้สะสมเงินเข้ากองทุนให้มากที่สุดเท่าที่เราจ่ายไหว เพราะนอกจากจะมีเงินเก็บไว้ใช้ในวัยเกษียณแล้ว ยังสามารถนำยอดเงินสะสมไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

ประกันสังคม

จริงอยู่ที่ดอกเบี้ย หรือเงินของประกันสังคมจะให้สวัสดิการไม่มากนัก แต่เราเชื่อว่านี่คืออีกแหล่งเงินออมที่ช่วยคุณได้ไม่มากก็น้อย นอกจากจะช่วยในเรื่องเงินทุนในช่วงวัยเกษียณแล้ว บางครั้งยังช่วยในเรื่องของค่ารักษาพยาบาลบางส่วน เช่น สามารถเคลมค่ารักษาทางทันตกรรม หรือกรณีเจ็บป่วยในโรงพยาบาลเครือข่าย เป็นต้น

แม้ว่าจำนวนเงินที่จ่าย และเงินค่าตอบแทนที่ได้จะไม่มากนัก แต่ถ้าคุณเลือกจ่ายอย่างสม่ำเสมอ นี่คืออีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ สามารถทำได้เองแม้จะเป็นฟรีแลนซ์ แถมยังเริ่มออมได้ตั้งแต่จำนวนเงินน้อย ๆ เมื่อเทียบกับกองทุนประเภทอื่น ๆ อีกด้วย

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) 

อีกหนึ่งกองทุนที่ใช้เป็นแหล่งออมเงินระยะยาวไว้ใช้ในวัยเกษียณ โดยคุณสามารถเลือกได้ว่าจะลงทุนกับกองทุน RMF เจ้าไหน เพราะมีให้เลือกตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำไปจนถึงความเสี่ยงสูง สำหรับกองทุน RMF จะเริ่มต้นลงทุนขั้นต่ำที่ 5,000 บาท หรือ 3% ของรายได้ทั้งปีที่ต้องเสียภาษี และลงทุนได้สูงสุดไม่เกิน 15% 

เมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และเบี้ยประกันบำนาญแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท โดยเราจะต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปีไปจนถึงอายุ 55 ปี (ไม่เว้นติดต่อกันเกิน 1 ปี) และเงินลงทุนก้อนแรกต้องลงทุนมาแล้วอย่างน้อย 5 ปีเต็มจึงจะสามารถขายกองทุนดังกล่าวได้

หากใครอยากมีเงินใช้ตอนเกษียณ แนะนำให้ลงทุน RMF อย่างสม่ำเสมอทุกเดือน โดยให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) หักบัญชีอัตโนมัติเพื่อนำไปลงทุนทุกเดือนก็ได้เพื่อป้องกันลืม และยังช่วยกระจายความเสี่ยงจากการลงทุน แถมยังเอาไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วยนะ

กองทุนรวม และ หุ้น 

แม้ทุกวันนี้ กองทุน LTF จะไม่สามารถซื้อได้แล้ว (แต่ผู้ที่เคยซื้อไว้ยังได้ผลประโยชน์ตามที่เคยซื้อไว้เหมือนเดิม) ก็ยังมีอีกหลายกองทุนรวม และมีหุ้นอีกหลายตัวที่น่าสนใจ และเป็นอีกแหล่งออมเงินที่เหมาะกับการเก็บเพื่อวัยเกษียณ 

กองทุนเหล่านี้จะเหมาะกับคนที่ต้องการลงทุนระยะยาว ที่สำคัญต้องสามารถรับความเสี่ยง หรือความผันผวนจากการลงทุนได้ โดยแลกกับการเพิ่มโอกาสให้เงินออมหรือเงินลงทุนต่าง ๆ งอกเงยมากขึ้น และมีเงินสะสมเพียงพอไว้ใช้ในวัยเกษียณนั่นเอง

ประกันชีวิตแบบบำนาญ

เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการออมเงินเกษียณที่หลายคนอาจจะมองข้าม เพราะในความเข้าใจของใครหลายคน ประกันชีวิตมักจะเน้นไปที่การได้เงินเมื่อทำครบกำหนดสัญญา หรือทำไว้เพื่อเป็นมรดกแก่ลูกหลาน รวมไปถึงคนที่เรารัก เผื่อไว้สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินมากกว่า

แต่ทุกวันนี้ ประกันชีวิตมีหลากหลายประเภท อย่าง ประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่นอกจากจะช่วยคุ้มครองเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันแล้ว หากออมเงินครบกำหนดสัญญาคุณจะได้ดอกเบี้ยเพิ่มมาอีกด้วย บางกรมธรรม์มีเงินปันผลคืนระหว่างปีอีกต่างหาก

ใครที่อยากจะเพิ่มความคุ้มครองให้ชีวิต กระจายความเสี่ยงด้านการลงทุน แต่มีงบในการทำประกันชีวิตแบบจำกัด ประกันชีวิตแบบบำนาญนี่แหละ ตัวเลือกที่ดีสุด ๆ

แค่มีแหล่งเงินออมอย่างเดียวอาจจะไม่พอ การวางแผนการเงินล่วงหน้าและระเบียบวินัยในการเก็บออมเงินก็เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ โดยขั้นแรกคุณอาจจะตั้งเป้าหมายในชีวิตให้ดี คาดการณ์ว่าจะอยู่อีกนานเท่าไหร่ คำนวนค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ แล้วค่อย ๆ เริ่มต้นวางแผนเก็บเงินออม แต่ก็อย่าลืมเรื่องของเงินเฟ้อ-เงินฝืดในอนาคตด้วยนะคะ

และใครที่มองหาประกันชีวิตแบบบำนาญที่จะช่วยให้คุณได้เก็บออมเงินเพื่อวัยเกษียณได้ง่ายดายขึ้น Rabbit Care ก็มีบริการเปรียบเทียบความคุ้มครองและเบี้ยประกันจากบริษัทชั้นนำมากมาย นอกจากนี้ยังมีที่ปรึกษาคอยดูแลทุกขั้นตอน


บทความแคร์การเงิน

แคร์การเงิน

ไฟแนนซ์ คืออะไร จัดไฟแนนซ์รถ รีไฟแนนซ์บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า จัดไฟแนนซ์ ขอไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อกันมาพอสมควร แต่อาจจะยังไม่เข้าใจรายละเอียดเรื่องการจัดไฟแนนซ์ ว่ามีขั้นตอนอย่างไร
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

เป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม?

เรื่องหนี้สิน เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับคู่สมรส โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ที่เกิดจากการใช้จ่ายของทั้งสองฝ่าย ทั้งในกรณีที่ใช้จ่ายร่วมกัน
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

ผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารได้ไหม หรือควรทำอย่างไรดี

ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่น่าหนักใจสำหรับใครหลายคน เพราะดอกเบี้ยบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว
Thirakan T
11/04/2024