ปีนี้จะเป็นปีแรกที่กองทุนรวมน้องใหม่อย่าง กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว หรือ Super Saving Fund (SSF) มาแทนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่สิ้นสุดไปเมื่อช่วงสิ้นปี 2562 และสามารถซื้อหน่วยลงทุนได้แล้วตลอดทั้งปี เพื่อนำสิทธิมาลดหย่อนทางภาษี แต่หลายคนยังมีข้อสงสัยและเงื่อนไขสำคัญ ๆ เกี่ยวกับกองทุนนี้ rabbit finance ขอรับหน้าที่อาสาไขข้อข้องใจต่าง ๆ เพื่อให้นักออมได้เข้าใจมากขึ้น
กองทุน SSF ต่างกับกองทุน LTF อย่างไร
กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund: SSF) มีการออกแบบให้ส่งเสริมการออมระยะยาว รองรับการเข้าสู่สังคมสูงอายุ โดยจูงใจให้เกิดการออมเงินในทุกช่วงอายุ และได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งจะทดแทนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้สิ้นสุดไปเมื่อช่วงสิ้นปี 2562 ซึ่งทั้งสองกองทุนนั้นมีความแตกต่างอยู่หลายประการ
บุคคลธรรมดาที่ซื้อกองทุน SSF จะได้รับสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษี คือ สามารถสามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้สำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน SSF ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
โดยเมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ เช่น กองทุน RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือกองทุนการออมแห่งชาติ หรือเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี ขณะที่กองทุน LTF จะให้ลดหย่อนภาษีค่าซื้อหน่วยลงทุนได้ไม่เกิน 15% ของรายได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
สำหรับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี ถ้าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน SSF จะต้องถือครอง SSF เป็นเวลา 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ จึงจะขายคืนหน่วยลงทุนได้ โดยไม่ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี และไม่กำหนดจำนวนขั้นต่ำในการซื้อหน่วยลงทุน เพียงแต่ปีที่ลงทุนจึงจะได้ลดหย่อนภาษี ขณะที่กองทุน LTF เดิม กำหนดให้ถือครองต้องเป็นเวลา 7 ปีปฏิทิน โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี ลงทุนปีไหนก็ใช้สิทธิปีนั้นเช่นกัน และไม่กำหนดวงเงินลงทุนขั้นต่ำต่อปีเช่นเดียวกัน
กองทุน SSF และ SSF แบบพิเศษต่างกันอย่างไร
กองทุนน้องใหม่อย่าง กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Saving Fund : SSF) แบบปกติ และ กองทุนรวม SSF Extra แบบพิเศษ ทั้ง 2 ประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้นักออมได้เลือกได้ตรงตามความต้องการของตัวเองได้อย่างถูกต้องก่อนการตัดสินใจที่จะเข้ามาลงทุน
1.กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Saving Fund : SSF) แบบปกติ
กองทุนเพื่อการออมที่ให้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีที่ออกมาใหม่ เพื่อทดแทนกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) มีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุน ดังนี้
- ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ปีเต็ม นับจากวันที่ลงทุน
- ลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท เช่น ลงทุนหุ้นไทย ตราสารหนี้ กองทุนผสม กองทุนหุ้นต่างประเทศ
- ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ปีเต็ม นับจากวันที่ลงทุน (นับวันชนวัน)
- ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ
- ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี ซื้อปีไหนก็ลดหย่อนในปีนั้น
- หักลดหย่อนได้ในปี 2563–2567 โดยลงทุนสูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
2.กองทุนรวมเพื่อการออมระยะยาวแบบพิเศษ SSF Extra (Super Saving Fund Extra) แบบพิเศษ
- ต้องถือครองไม่น้อยกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อแบบวันชนวัน
- มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่า 65% หมายถึงเป็นกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 65%
- ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 200,000 บาท
- สามารถลดหย่อนภาษีได้เฉพาะปี 2563 เท่านั้น
- ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ
ซื้อประกันชีวิต นำไปลดหย่อนภาษีได้
นอกจากกองทุนรวมจะสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้แล้ว กรมสรรพากรได้ให้สิทธิการลดหย่อนภาษีโดยการนำเบี้ยประกันชีวิตมาหักลดได้ โดยประกันชีวิตที่ทำต้องคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป โดยประเภทของประกันชีวิตที่สามารถนำเบี้ยมาลดหย่อนภาษีได้ก็มี 2 ประเภท ได้แก่
1.ประกันชีวิตแบบทั่วไป เช่น ประกันชีวิตตลอดชีพ มีระยะเวลาการชำระเบี้ยประกันประมาณ 10 15 หรือ 20 ปี หรือประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เมีระยะเวลาตั้งแต่ 10 ปี 20 ปี หรือ 30 ปี อาทิ Easy วัยเรียน ทรัพย์ทวี 15/15 ทุนทวี พลัส 20/20 จากไทยประกันชีวิต และ ประกัน AIA ตลอดชีพ
2.ประกันชีวิตแบบบำนาญ จึงจะมีสิทธินำเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีได้ เช่น ประกันเศรษฐีรีไทร์ 4 เด้ง จากไทยประกันชีวิต และ ประกันผู้สูงอายุ Gen Senior 55 จาก Generali