แคร์ขับขี่ปลอดภัย

ปรับท่านั่งขับรถ นั่งสบายไม่ปวดหลัง

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Published January 27, 2021

สำหรับคนที่ต้องขับรถเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในระยะไกลบ่อย ๆ นั้น รู้หรือไม่ว่าการนั่งขับรถเป็นเวลานานหลายชั่วโมงต่อวัน อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ขับขี่ได้ โดยเฉพาะความเคยชินทำให้เรานั่งขับรถผิดท่า ก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยตัว หรือบางครั้งก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้น ผู้ขับจึงควรปรับท่านั่งขับรถให้ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว และเพื่อให้นั่งสบายตลอดทั้งเส้นทางอีกด้วย


ปรับท่านั่งขับรถแบบไหน ให้นั่งสบายไม่ปวดหลัง

การนั่งขับรถก็เหมือนกับการที่เหล่ามนุษย์เงินเดือนที่ต้องนั่งอยู่กับท่าทางเดิม ๆ เป็นเวลานาน หากทำติดต่อกันเป็นเวลานานจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพราะฉะนั้นการปรับท่านั่งขับรถให้ถูกต้องจึงสำคัญ จะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ดังนี้

ปรับเบาะรถให้พอดี

การปรับเบาะรถ (Seat) เป็นสิ่งที่ควรปรับเป็นอันดับแรกทั้งในเรื่องของระยะห่างและความสูงต่ำของเบาะรถ ที่ควรปรับให้พอดีกับผู้ขับขี่ การปรับระยะห่างของเบาะรถ ควรปรับระยะของเบาะให้เหมาะกับสภาพร่างกายของผู้ขับขี่

โดยนั่งให้กระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar Spine) อยู่ชิดกับเบาะพอดี เท้าสามารถเหยียบแป้นเบรคได้จนสุด และเข่าสามารถงอได้เล็กน้อยในขณะเหยียบเบรค (ประมาณ 120 องศา) หากปรับเบาะให้ไกลเกินไปทำให้ผู้ขับขี่ต้องเหยียดขามากขึ้น อาจทำให้เหยียบแป้นเบรคไม่เต็มที่ และยังส่งผลต่อวิสัยทัศน์ในการขับขี่ มุมมองการมองเห็นสั้นลง เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย

ปรับพนักพิงให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

การปรับพนักพิง (Backrest) ขณะนั่งขับรถแผ่นหลังของผู้ขับขี่ควรติดพนักพิงเสมอ ควรปรับพนักพิงให้เอียงประมาณ 20-30 องศา หากปรับพนักพิงในระดับที่เหมาะสม ข้อมือจะสามารถแตะกับพวงมาลัยได้พอดี

หากลองวางมือบนพวงมาลัยดูแล้วพบว่าเลยตำแหน่งของข้อมือเข้ามาแสดงว่าปรับความเอียงของพนักพิงน้อยเกินไป ทำให้ผู้ขับขี่นั่งชิดจนเกินไป อาจทำให้ต้องงอเข่ามากขึ้น หรือหากปรับพนักพิงห่าง ขณะเหยียบเบรคจะต้องออกแรงเหยียบเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เข่าต้องรับแรงกดมากขึ้น อาจทำให้ผู้ขับขี่มีอาการปวดเข่าตามมาได้

ปรับท่านั่งขับรถ

ปรับหมอนรองศีรษะ

การปรับหมอนรองศีรษะ (Head restraints) หมอนรองศีรษะที่ติดตั้งอยู่เหนือเบาะนั่งนั้นมีหน้าที่รองรับการกระแทกบริเวณศีรษะของผู้ขับรถและผู้ที่โดยสารในขณะเกิดอุบัติเหตุ เพื่อไม่ให้ศีรษะสะบัดไปทางด้านหลังอย่างรุนแรงซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายกับกระดูกบริเวณคอได้ การปรับหมอนรองศีรษะควรปรับให้อยู่กลางตำแหน่งศีรษะพอดี เพื่อที่เวลานั่งจะได้สบายมากขึ้นด้วย

ระดับพวงมาลัยก็สำคัญ 

การปรับระดับพวงมาลัย (Steering wheel) ผู้ขับขี่ควรปรับระดับความสูงของพวงมาลัยให้อยู่ในระดับที่ขนานกับหลัง ไม่ควรปรับให้สูงหรือต่ำเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความเมื่อยล้าในการขับรถระยะทางไกล ขณะจับพวงมาลัยข้อศอกควรงอทำมุมประมาณ 120 องศา และจากจุดศูนย์กลางของพวงมาลัยถึงบริเวณหน้าอกของผู้ขับขี่ควรมีระยะห่างประมาณ 10 นิ้ว หรือ 30 เซนติเมตร

ความสูงของที่วางแขน

อีกส่วนหนึ่งที่มักจะมองข้ามกันไปก็คือ การปรับที่วางแขน (Armrests) หากในรถยนต์มีการติดตั้งที่วางแขน หรือที่พักแขน ผู้ขับขี่ควรปรับที่วางแขนให้อยู่ในระดับความสูงที่เหมาะสม สามารถวางข้อศอกได้พอดี ไม่ควรปรับให้สูงจนเกินไปเพราะจะทำให้ต้องยกไหล่ขึ้นตลอดเวลาในขณะที่วางแขนลงบริเวณที่วางแขน อาจก่อให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณไหล่และคอตามมาได้

ทั้งนี้ นอกจากการปรับท่านั่งให้เหมาะสมแล้ว การบริหารร่างกายด้วยท่าต่าง ๆ ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยลดอาการปวดหลังและอาการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกายได้ เช่น ในช่วงการจราจรติดขัดเป็นเวลานาน ผู้ขับขี่สามารถทำท่าบริหารคอและข้อเท้าได้ หากสามารถปฏิบัติได้เท่านี้ ก็จะช่วยป้องกันอาการปวดหลังจากการขับรถได้อย่างแน่นอน หรือถ้าจำเป็นต้องเดินทางไกลจริงๆ แนะนำให้พยายามหาจุดพักรถบ้าง เพื่อที่ตัวผู้ขับและผู้โดยสารเองได้มีเวลาออกมายืดเส้นยืดสายข้างนอกรถบ้าง


อยากซื้อรถยนต์ อัปเดตเรื่องราวรถยนต์ใหม่ และซื้อขายรถยนต์สะดวกสบาย ราคาเป็นมิตร ที่ one2car.com สนับสนุนบทความดี ๆ โดย Autospinn อย่าลืมติดตามเรื่องรถใหม่-รถมือสองก่อนใครที่นี่ เปรียบเทียบประกันรถยนต์ ที่ Rabbit Care ผ่อน 0% ให้นานถึง 10 เดือน และส่วนลดสูงสุดถึง 70%


 

บทความแคร์ขับขี่ปลอดภัย

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

สรุปสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย

รวมข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย ว่าแท้จริงแล้วมันมาจากอะไรได้บ้าง และถ้าหากเปรียบเทียบข้อมูลจากหน่วยงาน
Thirakan T
11/04/2024

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

ขับรถปวดหลัง เพราะนั่งนานหลายชั่วโมง มีวิธีแก้ปวดแบบไหนให้ทำตามบ้าง

อาการขับรถปวดหลังสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ใช้งานรถยนต์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไกลหรือระยะสั้นก็ตาม
Thirakan T
11/04/2024

แคร์ขับขี่ปลอดภัย

ทางด่วนฟรีสงกรานต์ 2567 เตรียมตัววางแผนให้ดีก่อนออกเดินทาง

มาวางแผนการเดินทางช่วงสงกรานต์ให้พร้อม! ไปกับการสรุปข้อมูลทางด่วนฟรีสงกรานต์ 2567 ที่มีประกาศออกมาแล้วว่าสามารถใช้งานได้ฟรีตลอดระยะเวลาที่กำหนด
Thirakan T
05/04/2024