ถึงเป้าแน่ 2 ล้านล้านบาท! กรมสรรพากรจัดเก็บ งบภาษีปี 62

- กรมสรรพากรยืนยัน งบภาษีปี 62 จะจัดเก็บภาษีได้ตามเป้าหมาย คือ 2 ล้านล้านบาท เนื่องจากในปีงบประมาณ 2562 กรมสรรพากรมีการเดินหน้ายุทธศาสตร์ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีให้ดียิ่งขึ้น จึงคาดว่าจะส่งผลให้จัดเก็บภาษีตามเป้าที่กำหนดไว้
- ภาษีที่จัดเก็บได้ในเดือน ต.ค. 2561 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2562 ได้ 1.23 แสนล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 5.92% จากปีก่อน และมากกว่าที่ประมาณไว้ถึง 5,800 ล้านบาท หรือคิดเป็น 4.93% ผลจากการเพิ่มประสิทธิภาพในช่วงแรกของกรมสรรพากรดิจิทัลในช่วงแรกที่ผ่านมา
งบภาษีปี 62 สรรพากรมั่นใจ เก็บได้เข้าเป้า
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ เปิดเผยว่า กรมสรรพากรยืนยันว่าในปีงบประมาณ 2562 จะเก็บภาษีได้ตามเป้าหมายซึ่งก็คือ 2 ล้านล้านบาท เพราะในปีงบประมาณ 2562 กรมสรรพากรมีเดินหน้ายุทธศาสตร์ ยกระดับประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีให้ทันสมัย รวดเร็ว และเป็นธรรม ด้วยการเชื่อมโยงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของผู้เสียภาษีผ่านระบบดิจิทัล ทำให้แยกผู้เสียภาษีดี กับไม่ดีออกจากกันได้
“ยุทธศาสตร์ยกประสิทธิภาพของกรมสรรพากรในปีงบประมาณ 2562 จะทำให้คนที่อยู่นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น และการเก็บภาษีของกรมสรรพากรจะเก็บเพิ่มได้ในทุกๆ ตัว”
ภาษีที่จัดเก็บได้ในเดือน ต.ค. 2561 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2562 ได้ 1.23 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.92% จากปีก่อน และมากกว่าที่ประมาณไว้ถึง 5,800 ล้านบาท หรือคิดเป็น 4.93% ผลจากการเพิ่มประสิทธิภาพในช่วงแรกของกรมสรรพากรดิจิทัลในช่วงแรกที่ผ่านมา
ความคืบหน้าของ พ.ร.บ. ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ด้านพ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรมาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนระหว่างบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน (Transfer Pricing) ที่มีผลบังคับใช้แล้วนั้น จะทำให้การเก็บภาษีบริษัททั้งในและต่างประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ขณะที่ ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรเพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (e-Payment) อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นกฎหมายวางรากฐานการเก็บภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์
เช่น การหักภาษี ณ ที่จ่าย กฎหมายใหม่นี้ให้อำนาจสภาบันการเงินหักภาษี ณ ที่จ่ายของผู้เสียภาษีให้กรมสรรพากรได้เลยทำให้เกิดความสะดวก ไม่ได้เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อจับผิดรายย่อย แต่จะทำให้เกิดความเป็นธรรมของผู้เสียภาษีนอกระบบและในระบบมากขึ้น
นอกจากนี้ทางด้านร่างพ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร เพื่อรองรับการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) ในส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการในต่างประเทศ ที่มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการต่างประเทศมาทำธุรกิจในประเทศบนระบบออนไลน์ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศ ที่ผ่านมากรมสรรพากรได้หารือกับผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ค้าขายออนไลน์ระดับโลก ซึ่งก็พร้อมที่จะทำตามกฎหมายที่กรมสรรพากรออกมา โดยขณะนี้ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา
เห็นการแนวทางของ งบภาษีปี 62 กันไปแบบหอมปากหอมคอแล้ว อย่างไรก็ตามเรายังคงต้องจับตามองกันอย่างใกล้ชิดต่อไป ว่าการเก็บเงินภาษีในแต่ละปีนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง อันไหนปรับเพิ่ม อะไรปรับลด หรืออะไรช่วยลดหย่อนภาษีได้
ขอบคุณข้อมูล : https://www.khaosod.co.th/economics/news_1891610