ในยุคไทยแลนด์ 4.0 แบบนี้ เชื่อมั่นเหลือเกินว่าคงจะมีธุรกิจเกิดใหม่ขึ้นมากมายในสังคมไทย บางธุรกิจอาจะเป็นธุรกิจแบบสตาร์ทอัพที่เพิ่งเปิดตัว ทำการตลาด จนสินค้านั้นอยู่ในกระแส คนไทยในสังคมส่วนใหญ่รู้จัก ส่วนบางธุรกิจเองก็เป็นธุรกิจที่มีประวัติความเป็นมาอยู่คู่สังคมไทยมาเป็นระยะเวลายาวนาน
ถึงแม้ว่าแต่ละธุรกิจจะมีประวัติความเป็นมา เวลาในการดำเนินธุรกิจแตกต่างกัน แต่เหนือสิ่งอื่นใดนั่นก็คือ ธุรกิจเหล่านี้มีความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจเหมือนกันนั่นเอง ทำให้แต่ละบริษัทมีการบริหารจัดการความต่อเนื่อง
การบริการจัดการความต่อเนื่องของธุรกิจ
การบริหารจัดการความต่อเนื่อง คือ การเตรียมพร้อมเพื่อตอบรับกับปัญหาฉับพลัน วิกฤต หรือภัยที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถยังก้าวต่อไปได้อย่างไม่ติดขัด เพราะยิ่งองค์กรหรือบริษัทเติบโตมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสพบเจอกับปัญหาหลากหลายปัจจัยมากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะด้านเศรษฐกิจ การเมือง วิกฤตทางธรรมชาติ หรือด้านอื่นๆ
ปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจให้หยุดชะงักอย่างฉับพลันได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรและบริษัทไม่อยากให้เกิดขึ้นมากที่สุด ดังนั้นเป้าหมายของการบริหารจัดการความต่อเนื่องก็คือ การประเมินความเสี่ยง กำหนดกลยุทธ์ และทำความเข้าใจกับพนักงานในองค์กรทุกคน เพื่อทำให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างต่อเนื่องแม้ในยามที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน
อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการความต่อเนื่อง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์หรือวางแผนที่ทำให้องค์กรสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่องอย่างสมบูรณ์แบบเหมือนไม่มีวิกฤติเกิดขึ้น แต่เป็นการวางแผนรองรับเพียงพอให้องค์กรสามารถยังยืนหรือเดินต่อไปข้างหน้าได้
กล่าวคือ การบริหารจัดการความต่อเนื่อง ไม่อาจป้องกันความเสียหายที่ไม่คาดคิดได้ทั้งหมด เพียงแต่เป็นการทำให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด ในขณะที่ก็พยายามรักษาและกู้คืนความเสียหายให้กลับมาทำงานได้อย่างคงเดิม โดยองค์ประกอบของ การบริหารจัดการความต่อเนื่อง
ขั้นตอนการบริหารจัดการความต่อเนื่อง
1. จัดตั้งการบริหารจัดการความต่อเนื่อง
2. ทำความเข้าใจกับองค์กรของตนเอง
3. กำหนดกลยุทธ์
4. จัดทำแผนงานกลยุทธ์
5. ทดสอบ ทบทวน และพิจารณาแผน
6. ฝังแผนงานลงไปในวัฒนธรรมองค์กร
เพราะความเสี่ยงที่ธุรกิจต้องประสบนั้นมีอยู่มากมาย โดยขึ้นอยู่กับธุรกิจที่ประกอบการ ซึ่งความเสี่ยงบางอย่างนั้น คุณก็สามารถที่จะโอนไปให้บริษัทประกันภัย ช่วยคุ้มครอง บรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้
โดยเจ้าของธุรกิจเป็นผู้เอาประกันภัยและจ่ายเบี้ยประกันภัยในจำนวนเงินที่ไม่มากนักให้กับบริษัทประกันภัย เมื่อเกิดความเสียหายเกิดขึ้น ธุรกิจก็สามารถเรียกร้องค่าเสียหาย เป็นค่าสินไหมทดแทน จากบริษัทประกันภัยได้ ดังนั้น การทำธุรกิจสมัยใหม่ ต้องคิดถึงประกันภัย ทั้งนั้น ถ้าธุรกิจของคุณไม่ทำประกันภัย คงไม่ได้แล้ว
ข้อดีของการทำประกันภัยธุรกิจ
โดยข้อดีของการทำประกันธุรกิจนั้น คือการช่วยคุ้มครองต่อความเสี่ยงภัยในทรัพย์สินของธุรกิจที่อาจเกิดขึ้น ไม่ใช่แค่ความรับผิดทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงประโยชน์ที่จะได้จากความคุ้มครองต่อพนักงานในธุรกิจนั้นๆ อีกด้วย
โดยปกติแล้ว การประภัยธุรกิจนั้น จะคุ้มครองตั้งแต่กลุ่มสตาร์ทอัพ , กลุ่มเจ้าของธุรกิจส่วนตัว , ธุรกิจเอสเอ็มอีขนาดกลาง ไปจนถึงบริษัทที่มีพนักงานประจำไม่เกิน 100 คน
ประกันภัยที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ
เมื่อพูดถึง “ประกันภาคธุรกิจ” เชื่อเหลือเกินว่าหลายๆ ท่านคงจะคิดว่าประกันภาคธุรกิจนั้นคือชื่อของกรมธรรม์ แต่ความจริงแล้ว ประกันภัยภาคธุรกิจหมายถึงกรมธรรม์ประกันภัยที่ช่วยให้การดำเนินธุรกิจของท่านลื่นไหลไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยกรมธรรม์ที่จะช่วยคุ้มครองธุรกิจของท่านในด้านต่างๆ นั้นจะประกอบไปด้วย
การประกันภัยแบบกลุ่ม เป็นการรับประกันภัยบุคคลหลายคนภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียวโดยมีนายจ้างเป็นผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย และมีลูกจ้างเป็นผู้เอาประกันภัย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง
โดยบริษัทประกันภัยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยเพียงฉบับเดียวให้กับนายจ้าง เรียกว่า “กรมธรรม์ประกันภัยหลัก”
ส่วนลูกจ้างจะได้รับเอกสาร ที่เรียกว่า “ใบรับรองการเอาประกันภัย หรือบัตรประกันสุขภาพ” ไว้เป็นหลักฐานในการเอาประกันภัย หรือใช้สิทธิรักษาพยาบาล โดยการเอาประกันภัยกลุ่มที่นายจ้างสามารถทำให้กับลูกจ้างได้นั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน
ประกันภัยที่คุ้มครองและปกป้องผู้ทำประกันภัยต่อความผิดด้านต่างๆ เช่น การฟ้องร้อง การถูกกล่าวหา หรือการกระทำผิดต่อพนักงาน เป็นต้น โดยปกติแล้ว ประกันภัยความรับผิด มักจะทำให้กับผู้มีตำแหน่งสูงๆ ในบริษัทหรือองค์กรต่างๆ เช่น ผู้บริหาร กรรมการบริหาร หรือกระทั่งตัวบริษัทเอง
การทำประกันภัยความรับผิด จะเป็นการคุ้มครองค่าใช้จ่ายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงด้านต่างๆ ที่ผู้ปฏิบัติงานอาจต้องเผชิญหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งประกันจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านของการขึ้นและลงศาลต่างๆ เป็นต้น
-
ประกันภัยอาคารทรัพย์สินและอุบัติเหตุสำหรับภาคธุรกิจ
ประกันภัยที่จะช่วยรองรับการคุ้มครองในกรณีที่เกิดความสูญเสียต่ออาคารทรัพย์สินที่ได้ทำประกันเอาไว้โดยสามารถประเมินเป็นวงเงินได้ ทำให้เมื่อเกิดปัญหาขึ้นธุรกิจสามารถที่จะการดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง
ผู้ดำเนินธุรกิจทุกท่าน จึงควรมีการทำประกันสำหรับภาคธุรกิจไว้ เพื่อความคุ้มครองในด้านต่างๆ เช่น ประกันอัคคีภัยสำหรับธุรกิจ เป็นการทำประกันภัยเพื่อรองรับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ ธุรกิจ โรงงาน สถานประกอบการจากอัคคีภัย
ประกันภัยที่ช่วยลดความเสี่ยงในกรณีการเกิดเหตุก่อการร้ายขึ้น ไม่ว่าจะในหรือนอกประเทศ ซึ่งอาจส่งผลทางตรงหรือทางอ้อมต่อบริษัทหรือองค์กรของคุณ เพราะในยุคสมัยปัจจุบันนั้น มีโอกาสเกิดเหตุการณ์การก่อการร้ายได้บ่อยครั้ง ในหลากหลายแห่งทั่วโลก
ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว นอกจากจะพานำมาซึ่งความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน จิตใจ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวมาให้แล้ว ยังส่งผลต่อธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะในทางตรงหรือทางอ้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกด้วย
ประกันภัยที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อความเสียหายทางคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจในเชิงพาณิชย์ได้ทุกประเภท อาทิ ผู้ผลิตสินค้า ผู้ให้บริการประเภทต่างๆ โดยเฉพาะสถาบันการเงินซึ่งมีความเสี่ยงภัยในระดับสูง
โดยกรมธรรม์ประกันภัยประเภทนี้จะคุ้มครองทั้งในส่วนความรับผิดต่อผู้เอาประกันภัย (First Party) หรือความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (Third Party) ซึ่งเกิดขึ้นกับข้อมูลของลูกค้าสูญหาย หรือถูกโจรกรรมไป
นี่เป็นเพียงข้อมูล การทำประกันภัยสำหรับธุรกิจ เบื้องต้นเท่านั้น เพราะในความจริงแล้วยังมีกรมธรรม์ประกันภัยอีกมากมายที่ถูกออกแบบมาเพื่อบริษัทและธุรกิจต่างๆ
ขึ้นชื่อว่า ธุรกิจ ล้วนเต็มไปด้วยความเสี่ยง
เพราะการเริ่มต้นทำธุรกิจนั้นมีค่าใช้จ่าย มีราคาที่ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจโรงงาน, โรงแรม, ร้านอาหาร, ร้านกาแฟ, Start Up ฯลฯ ก็จะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากด้วยกันทั้งนั้น
ยิ่งถ้าหากเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ด้วยแล้ว ยิ่งต้องใช้จำนวนเงินมหาศาลมากเข้าไปใหญ่ เพราะในการลงทุนแต่ละครั้งจะต้องหมดค่าใช้จ่ายไปกับที่ดินปลูกสร้าง เครื่องจักร อาคาร อุปกรณ์ประกอบการธุรกิจ รวมถึงของตกแต่งภายในสำนักงาน
ด้วยต้นทุนการเริ่มต้นธุรกิจนั้นมีราคาที่ต้องจ่ายสูง ทำให้ผู้ประกอบการหลายท่าน ต้องดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง ทั้งกลยุทธ์ทางการขายและการรักษาสิ่งปลูกสร้างทางธุรกิจ เพราะหากสูญหาย หรือถูกทำลาย ผู้ประกอบการคงเสียหายไม่น้อย
ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ทำให้ธุรกิจควรทำประกัน
1. คุ้มครองทรัพย์สิน อาคารบริษัท
เพราะคุณไม่มีทางรู้ได้เลยว่า อุบัติเหตุจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ หากวันดี คืนดี อยู่ฝนตกหนัก น้ำท่วม หรือเกิดไฟไหม้ขึ้นมาจนทำให้อาคารและทรัพย์สินของบริษัทเสียหาย
แน่นอนว่ามันต้องขาดทุนแน่ๆ ยิ่งถ้าหากว่าคุณบริษัทสตาร์ทอัพที่เพิ่งดำเนินธุรกิจไปได้ดีด้วยแล้ว ยิ่งแล้วใหญ่ การทำประกันภัยภาคธุรกิจเอาไว้ คือคำตอบที่ช่วยให้ความคุ้มครองค่าเสียหายเหล่านั้นได้
2. อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับพนักงานขณะปฏิบัติงาน
นอกจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินและอาคารของบริษัทแล้ว อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับตัวพนักงานก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน เพราะพนักงานนั้นคือส่วนหนึ่งในการดำเนินงานธุรกิจ พวกเขาคือหัวเรี่ยว หัวแรงหลัก ที่ทำให้บริษัทของคุณก้าวหน้าไปสู่จุดหมายที่คุณต้องการ
หากเกิดอุบัติเหตุขณะทำงานขึ้นกับพนักงาน แล้วพวกเขาไม่ได้รับความช่วยเหลือ เชื่อเหลือเกินว่าคุณก็คงจะต้องเสียเวลาหาพนักงานที่เหมาะกับบริษัทต่อไปเรื่อยๆ
3. เหตุการณ์ก่อการร้าย
เพราะในยุคสมัยปัจจุบันนั้น มีโอกาสเกิดเหตุการณ์การก่อการร้ายได้บ่อยครั้ง ในหลากหลายแห่งทั่วโลก ไม่ว่าจะในหรือนอกประเทศ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว นอกจากจะนำมาซึ่งความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน จิตใจ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวมาให้แล้ว
ยังส่งผลต่อธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะในทางตรงหรือทางอ้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกด้วย ประกันภัยภาคธุรกิจจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะช่วยลดความเสี่ยงในกรณีการเกิดเหตุก่อการร้ายขึ้นได้
4. ข้อมูของบริษัทถูกขโมย
เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น การทำประกันภัยไซเบอร์คือคำตอบสุดท้ายที่ช่วยเหลือคุณเรื่องนั้นได้ เพราะเป็นประกันภัยที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อความเสียหายทางคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจในเชิงพาณิชย์ได้ทุกประเภท อาทิ ผู้ผลิตสินค้า ผู้ให้บริการประเภทต่างๆ
5. บริษัทถูกฟ้องร้อง ต้องขึ้นโรง ขึ้นศาล
ในการทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นบริษัท องค์กรที่มีขนาดใหญ่ หรือเป็นบริษัทที่กำลังเติบโตล้วนต้องมีโอกาสที่จะเผชิญการถูกฟ้องร้อง ขึ้นโรงขึ้นศาล ยิ่งกับผู้มีตำแหน่งสูงๆ ในบริษัทหรือองค์กรต่างๆ เช่น ผู้บริหาร กรรมการบริหาร หรือกระทั่งตัวบริษัทเอง
การทำประกันภัยความรับผิด จึงเป็นเรื่องที่คุ้มครองค่าใช้จ่ายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงด้านต่างๆ ที่ผู้ปฏิบัติงานอาจต้องเผชิญหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งประกันจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านของการขึ้นและลงศาลต่างๆ
อย่างที่ได้บอกไปว่าการทำธุรกิจนั้นมีความเสี่ยง คุณจึงมีความจำเป็นที่จะหาผู้ช่วยมาแบกรับความเสี่ยงนั้นเพิ่ม โดยการทำประกันภัยภาคธุรกิจ ต้องบอกก่อนว่าต้องทำตามรูปแบบประเภทของการดำเนินธุรกิจของคุณ โดยบริษัทประกันภัยส่วนใหญ่ได้ออกแบบรูปแบบกรมธรรม์ประกันภัยเอาไว้มากมาย ดังนี้
ประเภทของประกันภัยภาคธุรกิจ
คือ การประกันภัยที่จะช่วยรองรับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ ร้านค้า สถานประกอบการ จากอัคคีภัย และภัยอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
คือ การประกันความเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์
คือ การประกันความเสียหายแก่เรือและทรัพย์สินหรือสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล และยังขยายของเขตความคุ้มครองไปถึงการขนส่งสินค้าทางอากาศและทางบก ซึ่งต่อเนื่องกับการขนส่งทางทะเลด้วย
คือ การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองต่อผู้เอาประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัย ประสบอุบัติเหตุได้รับความบาดเจ็บทางร่างกาย และหากผลของการบาดเจ็บนั้นส่งผลให้ผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล หรือรุนแรงถึงขั้นทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต บริษัทประกันภัยจะเข้ามารับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
คือ การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันภัยหากผู้เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุ และผลของอุบัติเหตุนั้นส่งผลให้ผู้เอาประกันภัยบาดเจ็บต้องได้รับการรักษาพยาบาล หรือสูญเสียอวัยวะ มือ เท้า และสายตา หรือเสียชีวิต แต่ทั้งนี้อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องเกิดขึ้น ภายในระยะเวลาระหว่างการเดินทาง
คือ การรับประกันภัยบุคคลหลายคนภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียวโดยมีนายจ้างเป็นผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัย และมีลูกจ้างเป็นผู้เอาประกันภัย ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง
คือ การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองต่อความสูญเสียของเงิน ไม่ว่าเงินนั้นจะอยู่ภายในอาคารที่ทำการของผู้เอาประกันภัย ในตู้นิรภัย หรืออยู่ใน ระหว่างการขนส่งจากสถานที่หนึ่งไปอีกสถานที่หนึ่ง
คือ กรมธรรม์ประกันภัยที่ชดเชยคุณจากการสูญเสียทางการเงินโดยตรงอันเนื่องจากการกระทำที่ไม่ซื่อสัตย์ของพนักงานของคุณ
-
ประกันภัยความผิดต่อบุคคลภายนอก
คือ การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอกจะชดใช้ค่าเสียหาย ที่ผู้เอาประกันภัย ต้องรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกสำหรับความบาดเจ็บทางร่างกาย เสียชีวิต หรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เกิดขึ้นในระยะเวลาประกันภัย
คือ การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองความเสี่ยงภัยทุกชนิดของผู้รับเหมาระหว่างดำเนินงาน รับเหมาก่อสร้าง งานตกแต่งภายใน เป็นต้น
คือ การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัย แก่ผู้เอาประกันภัยกรณีเกิดความสูญเสีย หรือ ความเสียหายต่อเครื่องจักรที่เอาประกันซึ่งอยู่ระหว่างทำงานหรือหยุดพัก หรือขณะยกเครื่อง รื้อเครื่อง เคลื่อนย้าย หรือติดตั้งใหม่ เพื่อทำความสะอาด ตรวจสอบ หรือติดตั้ง ณ สถานที่อื่นใด
-
ประกันภัยความรับผิดชอบต่อสาธารณะ
คือ การให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือความบาดเจ็บทางร่างกาย ตลอดจนกระทั่งการเสียชีวิตของบุคคลภายนอก
-
ประกันความเสี่ยงภัยทุกชนิด
คือ การคุ้มครองทรัพย์สินที่เอาประกันภัยต่อความสูญเสีย และความเสียหายโดยตรงทางกายภาพจากสาเหตุภายนอกทุกกรณี เว้นแต่ที่ระบุไว้ในข้อยกเว้นในกรมธรรม์
คงจะเห็นแล้วว่า ประกันภัยภาคธุรกิจ มีกรมธรรม์ที่หลากหลาย เพียงพอต่อความต้องการของธุรกิจแทบทุกประเภทเลยจริงๆ
โบรกเกอร์ประกันภัยที่ได้รับความไว้วางใจ
rabbit finance โบรกเกอร์ประกันภัยอันดับต้นๆ ที่ได้จดทะเบียนเข้ามาอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เป็น 1 ใน 50 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และยังเป็นแบรนด์การค้าที่ถูกก่อตั้งโดย บริษัท แรบบิทอินเตอร์เน็ต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยี และสื่อออนไลน์ ที่อยู่ในเครือบริษัทที่ให้บริการคมนาคมชั้นนำของกรุงเทพมหานครฯ อย่างบริษัท บีทีเอส จำกัด มหาชน อีกด้วย
rabbit finance เป็นช่องทางการเปรียบเทียบประกันภัยให้กับคุณ ซึ่งมีผู้ใช้บริการทั้งสิ้นกว่า 4 ล้านคน ขั้นตอนในการเปรียบเทียบประกันภัยค่อนข้างสะดวก
ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย
คุณสามารถ เลือกประกันภัยที่ต้องการ จาก 30 บริษัทประกันชั้นนำ เราคัดสรรข้อเสนอที่ดีที่สุดเพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่าจะประหยัดเงินได้มากยิ่งขึ้น เพียงแค่กรอกข้อมูลที่จำเป็นลงในช่องที่เราเตรียมเอาไว้ให้บนเว็บไซต์
สำหรับลูกค้าท่านใดที่กังวลว่าการกรอกข้อมูลบนเว็บไซต์จะทำให้ถูกละเมิดความส่วนตัว คนภายนอกสามารถเห็นข้อมูลส่วนตัวได้ ขอให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์นั้น
ความปลอดภัยของข้อมูล
เนื่องจากเราได้รับเครื่องหมายรับรองความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์จาก Comodo หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมด้านการรักษาความปลอดภัยชั้นนำ เพื่อให้คุณมั่นใจว่าทุกข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญจะถูกเก็บรักษาเอาไว้ภายใต้ระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุด
นอกจากนี้ rabbit finance ยังได้รับ ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ทำให้มั่นใจได้ว่า rabbit finance จะดำเนินงานอย่างโปร่งใส ซื่อตรง รวดเร็ว
เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด เราขอย้ำอีกครั้งว่า rabbit finance ไม่ใช่ธนาคาร บริษัทประกันภัย หรือสถาบันทางการเงินแต่อย่างใด แต่เป็นช่องทางสำหรับการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเงินและประกันภัยเท่านั้น และบริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน) ก็เป็นหนึ่งในพันธมิตรที่จับมือกัน