ประกันภัยสำหรับธุรกิจ
ประกันภัยทรัพย์สินและคลังสินค้า
คุ้มครองทรัพย์สิน สิ่งปลูกสร้างและภัยธรรมชาติ
วางใจเมื่อเกิดเหตุขัดข้องในธุรกิจของคุณ
ข้อมูลส่วนตัวของท่านปลอดภัยแน่นอน
การขนส่งสินค้า เป็นการขนย้ายของจำนวนมากจากบุคคลหนึ่งมายังบุคคลหนึ่งเพื่อจุดประสงค์บางอย่าง ซึ่งการขนส่งก็มีหลากหลายรูปแบบ แต่การขนส่งสินค้าเป็นจำนวนมากก็อยู่บนความเสี่ยงที่สินค้าจะเสียหาย การมีประกันภัยขนส่งสินค้าเพื่อธุรกิจ จึงมีส่วนช่วยในการคุ้มครองสินค้าเมื่อเกิดความเสียหายได้
ประกันภัยขนส่งสินค้า มีวัตถุสงค์หลักในการป้องกันความรับผิดชอบของผู้ขนส่ง หรือความเสี่ยงภัยอันอาจมีขึ้นแก่ตัวสินค้าโดยผู้ซื้อหรือผู้ขายสินค้า ขึ้นอยู่ว่ากรรมสิทธิ์และความเสี่ยงในตัวสินค้าตกอยู่กับฝ่ายใด อันจะต้องพิจารณาจากสัญญาการซื้อขาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การซื้อขายในต่างประเทศ ซึ่งจะมี INCOTERMS (International Commercial Terms) คือข้อกำหนดในการส่งมอบสินค้า หรือเงื่อนไขในการส่งมอบสินค้าโดยกำหนดเป็นมาตรฐานการค้าที่ใช้ตกลงในการทำสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งดูแลและคุ้มครองโดย International Chamber of Commence โดยเงื่อนไขนี้จะเป็นที่เข้าใจตรงกันในระดับสากล เงื่อนไขที่เป็นที่นิยมอย่างสูง ได้แก่
เงื่อนไขนี้จะรวมราคาและค่าขนส่งสินค้าไปจนกว่าสินค้าจะพ้นจากกาบเรือขนส่ง หลังจากนั้นความเสี่ยงภัยและกรรมสิทธิจะโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อทันที ผู้ซื้อจึงมีหน้าที่ในการจัดหาเรือขนส่งเพื่อใช้ในการขนส่งสินค้า รวมถึงการทำประกันภัยสินค้า การซื้อขายแบบ FOB นี้ อาจไม่ได้สะดวกสบายเท่ากับแบบ CIF แต่มีข้อดีก็คือผู้ซื้อสินค้าสามารถจัดหาผู้รับขนที่เชื่อถือได้ด้วยตนเอง
ซึ่งการที่ผู้ซื้อ ได้ทำประกันภัยด้วยตนเองกับบริษัทประกันภัยภายในประเทศ ก็จะทำให้สามารถเลือกบริษัทที่น่าเชือถือ และสะดวกในการ เรียกค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่สินค้าเกิดความเสียหาย รวมทั้งยังไม่ต้องเสียเงินค่าเบี้ยประกันภัยให้แก่ต่างชาติด้วย จึงได้มีบางประเทศที่รัฐบาลประกาศนโยบายให้นำเข้าสินค้าได้เฉพาะเงื่อนไข FOB เท่านั้น
เงื่อนไขนี้จะมีการรวมราคาและค่าขนส่งสินค้าไปจนสินค้าถึงเมืองท่าปลายทาง รวมทั้งผู้ขายเองก็มีหน้าที่ในการทำประกันภัยสินค้านั้นด้วย แตทั้งนี้การทำประกันภัยดังกล่าวก็เป็นเพียงแต่การทำแทนผู้ซื้อเท่านั้น ความเสี่ยงในตัวสินค้านั้นจะถูกส่งโอนไปยังผู้ซื้อเมื่อผู้ซื้อได้รับใบตราส่ง (Bill of Lading) รวมไปถึงเอกสารประกอบอื่นๆ (Invoice, Insurance policy) หลังจากที่มีการชำระเงินค่าสินค้าแล้ว โดยผ่านวิธีการชำระแบบผ่านธนาคารตาม Letter of credit การซื้อขายแบบนี้จึงเป็นการซื้อแบบที่เรียกว่า Payment against Document
โดยจะมีการชำระเงินค่าสินค้าเมื่อได้รับเอกสารครบถ้วนแล้ว โดยไม่ได้คำนึงว่ายังมีสินค้าอยู่หรือไม่ ตัวอย่างเช่น หลังจากที่ส่งสินค้าลงเรือไปแล้ว แม้ว่าระหว่างทางเรือจะเกิดปัญหาจนสินค้าเสียหาย แต่ถ้าหากผู้ขายได้ส่งเอกสารตามที่ตกลงไว้ให้กับผู้ซื้อแล้ว ผู้ซื้อจะไม่สามารถที่จะปฏิเสธการจ่ายเงินได้ ผู้ซื้อจะต้องรับเอกสารดังกล่าวไปเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยเอง
การทำประกันภัยการขนส่งสินค้านั้น ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองตามข้อตกลงในกรมธรรม์ที่ซื้อ แต่ในการทำประกันภัยขนส่งสินค้าระหว่างประเทศหรือ การขนส่งสินค้าทางทะเล ก็มีเงื่อนไขและข้อยกเว้นบางอย่างนอกเหนือจากความคุ้มครอง ที่ผู้เอาประกันควรทราบเพื่อประโยชน์สูงสุดในการทำประกันภัยขนส่งสินค้า
ได้ระบุในเงื่อนไขข้อ 4 ของ Institute Cargo Clauses
บริษัทประกันภัยจะชดใช้ความเสียหายก็ต่อเมื่อในเรือซึ่งไม่พร้อมออกทะเลไปบรรทุกและขนย้ายสินค้า ในกรณีที่พิสูจน์ได้ว่าผู้เอาประกันมีส่วนรู้เห็นด้วย
ซึ่งจะครอบคลุมถึงสงคราม, สงครามกลางเมือง, กบฎ, ปฏิวัติ, การก่อความวุ่นวายของฝูงชน, การกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ของชาติศัตรู, การยึด จับกุม หน่วงเหนี่ยว กักกันภัยจากทุ่นระเบิด, อาวุธสงครามซึ่งถูกทอดทิ้งเอาไว้
ครอบคลุมถึงความเสียหายอันเกิดจากการนัดหยุดงาน จลาจลและ การก่อการร้าย หรือการกระทำที่มีจุดมุ่งหมายทางการเมือง
เงื่อนไขยกเว้นความคุ้มครองทั้ง 4 ข้อนี้ ผู้เอาประกันสามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้ ในข้อ 3 และ ข้อ 4 แต่ในกรณียกเว้นของข้อ 1 และ ข้อ 2 นั้น ผู้เอาประกันไม่สามารถซื้อเพิ่มเติมได้
ประกันภัยขนส่งสินค้าในประเทศ เป็นประกันภัยที่จะเริ่มคุ้มครองนับตั้งแต่เวลาที่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยได้เริ่มทำการขนย้าย ถ่ายสินค้าขึ้นไปยังยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง ณ คลังสินค้า หรือสถานที่เก็บสินค้านั้นตามที่ระบุชือเอาไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย โดยจะคุ้มครองตลอดระยะเวลาในระหว่างที่ทำการขนส่งตามเส้นทางและการขนส่งตามวิธีการแบบปกติ ซึ่งความคุ้มครองนั้นจะสิ้นสุดลงเมื่อสินค้าที่เอาประกันภัยได้ถูกขนย้ายออกไปจากยานพาหนะจนหมด ณ จุดหมายปลายทางที่ได้ระบุไว้ หรือเมื่อกำหนดระยะเวลาประกันภัยสิ้นสุด ก็ขึ้นอยู่กับว่าเวลาใดจะถึงกำหนดก่อน ซึ่งการเลือกประกันภัยนั้น อาจทำเป็นรายเที่ยว หรือเป็นรายปี โดยการประเมินปริมาณสินค้าที่จะมีการทำการขนส่งทั้งปีก็ได้ โดยจะมีแบบประกันอยู่ 2 แบบ ได้แก่
กรมธรรม์ประเภทนี้จะให้ความคุ้มครองทุกประเภท ยกเว้นแต่ภัยที่ตรงตามข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าความเสียหายทุกประเภทที่เกิดกับสินค้าจะได้รับความคุ้มครอง ความเสียหายประเภทที่จะได้รับความคุ้มครองจะต้องเป็นภัย หรือความเสี่ยง (Peril or Risk)
คือเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญหรือไม่ได้มีการคาดหมายเอาไว้ (Fortuitous or Unexpected) แต่ถ้าหากเป็นความเสียหายซึ่งจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน สามารถที่จะคาดหมายได้และไม่อาจที่จะหลีกเลี่ยงได้จริงๆ ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ กรณีตัวอย่างคือ ในกรณีที่ข้าวซึ่งมีความชื้นสูงในระดับที่ไม่สามารถทนต่อสภาวะการขนส่งได้ ซึ่งจะต้องได้รับความเสียหายโดยสิ้นเชิง ก่อนที่จะถูกขนส่งจนถึงที่หมาย ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองเพราะความเสียหายดังกล่าวไม่ได้เกิดจากภัยใดๆ ถือเป็น Inherent Vice
กรมธรรม์ประเภทนี้จะเป็นการรวมเอาเงื่อนไขกรมธรรม์แบบคุ้มครองภัยเฉพาะอย่าง และแบบคุ้มครองภัยทุกประเภทไว้ด้วยกัน โดยจะเป็นการให้ผู้เอาประกันภัย เลือกประเภทของความคุ้มครองได้ตามที่ตนเองต้องการ แบบประกันภัยขนส่งแบบนี้ได้ถูกใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน โดยเงื่อนไขความคุ้มครองนั้นจะมีด้วยกันทั้งหมด 6 ข้อ โดยจะมีเบี้ยประกันที่แตกต่างกันไปตามระดับความคุ้มครอง ซึ่งจะเรียงลำดับจากความคุ้มครองที่ต่ำที่สุดในข้อ 1 จนไปถึงระดับความคุ้มครองสูงสุดในข้อ 6 ดังนี้
2.1 ความเสียหายหรือการสูญเสียโดยสิ้นเชิงของ ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย โดยมีสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยตรงจากยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งได้รับความเสียหายจาก อัคคีภัย, การระเบิด, ยาพาหนะชนยานพาหนะชนิดใด หรือชนกับสิ่งใดภายนอกยานพาหนะนั้น (มิใช่ถนน, ทางเท้า, หลุมบนถนน, อากาศ, น้ำ) ซึ่งความเสียหายที่ได้รับความคุ้มครองนั้นจะต้องเป็นกรณีที่สินค้าเสียหายโดยสิ้นเชิงและยานพาหนะที่ใช้ขนส่งสินค้าดังกล่าวได้รับความเสียหายโดยสิ้นเชิงด้วยเท่านั้น หากยานพาหนะไม่ได้เสียหายโดนสิ้นเชิง แม้ว่าสินค้าจะเสียหายสิ้นเชิงก็จะไม่ได้รับความคุ้มครอง
2.2 ความเสียหายหรือการสูญเสียโดยสิ้นเชิงของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยโดยมีสาเหตุที่เกิดขึ้นจากยานพาหนะที่ใช้การขนส่งนั้นประสบภัยโดยตรงจาก อัคคีภัย, การระเบิด, ยานพาหนะนั้นชนยานพาหนะชนิดใด หรือชนกับสิ่งใดนอกยานพาหนะนั้น กรณีนี้ไม่จำเป็นต้องเกิดความเสียหายโดยสิ้นเชิง แต่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยจะต้องเสียหายโดยสิ้นเชิงเท่านั้น หากเพียงบางส่วนจะไม่ได้รับความคุ้มครอง
2.3 ความเสียหายหรือการสูญเสียโดยสิ้นเชิงหรือบางส่วนของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย โดยมีสาเหตุที่เกิดขึ้นจากยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งนั้นประสบภัยโดยตรงจาก อัคคีภัย, การระเบิด, ยานพาหนะนั้นชนยานพาหนะชนิดใด หรือชนกับสิ่งใดภายนอกยานพาหนะนั้น กรณีนี้ทรัพย์ที่เอาประกันภัยไม่ต้องเสียหายโดยสิ้นเชิง หากเกิดการเสียหายบางส่วนจากภัยที่ระบุไว้ก็จะได้รับความคุ้มครองตามความเสียหายที่แท้จริง
2.4 ก. ความคุ้มครองตามข้อ 3 และ ข. ความเสียหายหรือสูญเสียโดยสิ้นเชิงของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยหีบห่อใดหีบห่อหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นโดยตรงในระหว่างการขนส่งขึ้น-ลง จากยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง ความคุ้มครองนี้จะมีผลบังคับเฉพาะสินค้าที่บรรจุมาเป็นหีบห่อ และในระหว่างขนย้ายสินค้าขึ้น-ลง จากยานพาหนะ หีบห่อใดหีบห่อหนึ่งต้องได้รับความเสียหายโดยสิ้นเชิงเท่านั้นจึงจะได้รับความคุ้มครอง
2.5 ก. ความคุ้มครองตามข้อ 3 และข้อ 4 ข. และ ข. ความเสียหายหรือการสูญเสียโดยสิ้นเชิงหรือบางส่วนของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย โดยมีสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยตรงจาก ภัยแผ่นดินไหว, ฟ้าผ่า, น้ำทะเล, น้ำในแม่น้ำ, น้ำฝน, น้ำจืด และน้ำทะเลสาบ ความคุ้มครองตามข้อนี้ ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งจะได้รับความเสียหายหรือไม่ก็ได้ และทรัพย์สินจะเสียหายบางส่วนหรือสิ้นเชิงก็ได้
2.6 ความเสียหายหรือการสูญเสียโดยสิ้นเชิงหรือบางส่วนของทรัพย์สินที่เอาประกัน ภัยจากการเสี่ยงภัยทุกชนิดที่เกิดขึ้นจากเหตุภายนอก ความคุ้มครองนี้จะเป็นความคุ้มครองที่สูงที่สุด โดยจะครอบคลุมความเสี่ยงภัยตามข้อ 1-5 ไว้ทั้งหมด เป็น All Risk Cover
ประกันภัยขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งคือ ประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล เป็นประกันภัยที่มีไว้สำหรับในกรณีที่ต้องขนส่งสินค้าทางเรือออกภายนอกประเทศหรือข้ามไปยังอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งในกรณีที่มีการขนส่งที่มากกว่า 1 รูปแบบ และมีการขนส่งทางทะเลรวมอยู่ด้วย ลักษณะของการประกันภัยการขนส่งจะเป็นลักษณะ Warehouse to Warehouse (การประกันภัยสินค้าตั้งแต่ต้นทาง นับตั้งแต่สินค้าออกจากโกดังต้นทาง จนถึงผู้รับ ณ โกดังสินค้าปลายทาง)
หากเป็นการต่อเนื่องจากประกันประกันภัยทางทะเล กรมธรรม์จะคุ้มครองตัวสินค้าตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ไม่ว่าสินค้าจะถูกขนถ่ายต่อโดยรถยนต์หรือรถไฟก็ตาม โดยประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล จะมีแบบหลักๆ อยู่ 3 แบบ ซึ่งให้ความคุ้มครองสูงสุด ไปจนถึงคุ้มครองต่ำสุด ดังนี้
เป็นประกันภัยที่คุ้มครองความเสี่ยงภัยทั้งหมดทุกประเภท ที่จะก่อให้เกิดความสูญเสียหรือความเสียหายให้กับสินค้าที่จะเอาประกันภัย เว้นแต่เพียงจะเข้าข้อยกเว้น ความคุ้มครองแบบนี้ถือเป็นแบบที่ให้ความคุ้มครองสูงสุด ซึ่งจะคุ้มครองแม้ในกรณีที่ความเสียหายเกิดจากการกระทำโดยทุจริตของนายเรือ, ลูกเรือ หรือเจ้าของเรือ หากผู้เอาประกันภัยไม่ได้มีส่วนรู้เห็นในการทุจริตนั้น และให้ความคุ้มครองแม้ในกรณีที่เรือขนส่งสินค้าไม่มีความพร้อมในการเดินทะเล (Unseaworthiness) หากผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าไม่ทราบถึงความไม่พร้อมของเรือดังกล่าว ซึ่งอัตราค่าเบี้ยประกันก็จะสูงที่สุดในหมวดนี้
เป็นประกันภัยสินค้าที่คุ้มครองความเสี่ยงภัยแบบเฉพาะเจาะจง (Named Perils) ตามที่ได้ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์เท่านั้น ซึ่งได้แก่ความเสียหายจากแผ่นดินไหว, ภูเขาไฟระเบิด, ฟ้าผ่า, สินค้าถูกน้ำซัดตกเรือ (Washing overboard) น้ำจากแม่น้ำ, ทะเลสาบ รั่วเข้ามาในเรือ, ยานพาหนะหรือสถานที่เก็บสินค้า กรณีที่สินค้าทั้งหีบห่อเสียหายโดยสิ้นเชิงเพราะตกหล่นจากเรือ หรือเกิดจากการขนขึ้น-ลงจากเรือหรือยานพาหนะ และความคุ้มครองทั้งหมดที่ระบุใน ICC (C)
เป็นการประกันภัยสินค้าซึ่งคุ้มครองความเสี่ยงภัยเฉพาะเจาะจงตามที่ได้ระบุไว้ตามกรมธรรม์เท่านั้น ซึ่งได้แก่ ความเสียหายเนื่องจากเพลิงไหม้, ระเบิด, เรือเกยตื้น, เรือจมหรือล่ม, ยานพาหนะทางบกพลิกคว่ำหรือตกจากราง, เรือหรือยานพาหนะเกิดการชน หรือโดนกับวัตถุอื่นใด, การขนส่งสินค้าลงจากเรือ ณ ท่าหลบภัย, ความเสียหายที่เกิดกับส่วนรวม (General Average Sacrifice), ความเสียหายจากการที่สินค้าถูกโยนทิ้งทะเล (Jettison) โดยความเสียหายดังกล่าวจะเป็นความเสียหายโดยสิ้นเชิงหรือบางส่วนก็ได้
การประกันภัยขนส่งสินค้าในแต่ละรูปแบบ ก็จะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ของแต่ละกรมธรรม์ ดังนั้น ก่อนที่จะเลือกกรมธรรม์ประกันภัยใดๆ จำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจถึงเงื่อนไขความคุ้มครองและข้อยกเว้นของแต่ละกรมธรรม์ให้ดี เพื่อที่จะไม่เกิดปัญหาดังต่อไปนี้
ซึ่งจะสามารถพบได้ในกรมธรรม์แบบ ICC A, B และ C หากลองสังเกตดูกรมธรรม์ทั้ง 3 แบบที่ใช้ในประเทศไทยจะพบว่ามีคำว่า “Subject to English Law” ซึ่งหมายถึงให้ตีความตามกฏหมายของประเทศอังกฤษ จึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่าแล้วศาลไทยจะสามาถตัดสินได้อย่างไร ซึ่งเรื่องนี้สามารถอธิบายได้ว่าเป็นเรื่องของ Choice of Law โดยการที่คู่สัญญาแสดงเจตนาที่จะเลือกกฏหมายที่มีผลบังคับใช้กับสัญญา กล่าวคือ สามารถเลือกให้ใช้อนุญาตตุลาการแทนการฟ้องคดีในศาล หรือเลือกเงื่อนไขการซื้อขายตามหลัก INCOTERMS ก็สามารถตกลงให้ตัดสินได้
ประกันภัยแบบในประเทศชนิดเลือกข้อ ซึ่งมักจะเกิดปัญหาขึ้นอยู่เสมอ เนื่องจากกรมธรรม์ดังกล่าวค่อนข้างที่จะซับซ้อนและทำความเข้าใจยากสำหรับบุคคลทั่วไป เนื่องจากมีการนำเอาเงื่อนไขความคุ้มครองหลายชนิดมารวมกัน โดยมักจะเกิดความเข้าใจไม่ตรงกันซึ่งผู้เอาประกันภัยคิดว่าตนได้รับความคุ้มครอง ซึ่งมาจากการระบุข้อมูลบนหน้าตารางกรมธรรม์ที่ไม่ชัดเจนพอจนก่อให้เกิดการเข้าใจผิด ซึ่งผู้เอาประกันจะต้องเข้าไปอ่านเงื่อนไขการคุ้มครองในตัวกรมธรรม์อีกชั้นหนึ่ง
ที่ระบุว่าความเสียหายนั้นจะต้องขึ้นกับทรัพย์สินที่เอาประกันภัย โดยมีสาเหตุจากยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งชนกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนอกยานพาหนะนั้น หรือยานพาหนะที่ใช้ขนส่งประสบอัคคีภัยหรือการระเบิด
ภัยที่ได้จากการได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งภายในประเทศนั้น ต้องเป็นความเสียหายที่เกิดจากภัยที่คุ้มครองโดยตรงและไม่คุ้มครองความเสียหายต่อเนื่อง แม้ว่าความเสียหายนั้นจะต่อเนื่องจากภัยที่คุ้มครองก็ตาม กรณีตัวอย่างคือ การที่ยานพาหนะขนส่งสินค้าชนจนเกิดความเสียหาย โดยระหว่างจอดรอรถคันใหม่มาขนสินค้าต่อแล้วมีคนเข้ามาขโมยสินค้า ก็จะถือว่าเป็นภัยต่อเนื่อง ซึ่งไม่ได้รับความคุ้มครอง
กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองภัยทุกประเภทนั้นจะมีการทำสัญญาแนบท้ายตัดทอนความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ โดยจะระบุประเภทภัยที่ได้รับความคุ้มครอง ซึ่งเป็นลักษณะของกรมธรรม์ของประเภทระบุประเภทภัย ซึงขัดกับหลักการของกรมธรรม์คุ้มครองภัยทุกประเภทอย่างร้ายแรง เพราะบริษัทฯ จะต้องให้ความคุ้มครองทุกประเภทที่ไม่เข้าข้อยกเว้น และไม่สามารถระบุว่าคุ้มครองเฉพาะอย่างได้ ดังนั้น ถ้าหากมีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้น จะต้องมีการตีความตามสัญญาหลักโดยไม่ต้องพิจารณาสัญญาแนบท้าย
โดยจะอาศัยข้อรับรองในกรมธรรม์ขนส่งภายในประเทศ กรณีที่สินค้าที่บรรทุกมีกรมธรรม์ประกันภัยชนิดอื่นหรือมีการประกันภัยหลัก ซึ่งคุ้มครองโดยตรงอยู่แล้ว โดยให้พิจารณาค่าสินไหมทดแทนจากกรมธรรม์หลักฉบับนั้นก่อน หรือใช้การเฉลี่ยตามสัดส่วนปัญหา ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่เจ้าของสินค้า เอาประกันทางทะเลในตัวสินค้าเอาไว้แล้ว เมื่อถึงขั้นตอนของผู้รับขนส่งภายในประเทศ เมื่อเกิดความเสียหายต่อสินค้าในขณะขนส่งภายในประเทศ ตามหลักแล้วเจ้าของสินค้ามีสิทธิ์ที่จะเลือกว่าจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย หรือเรียกจากผู้รับขนส่งโดยตรงเลยก็ได้เช่นกัน