ค่ารักษาพยาบาล ของคนต่างชาติ
ค่ารักษาพยาบาล นับว่าแพงมากๆ หากเป็น โรคร้ายแรง หรือ ความเจ็บป่วยที่ต้องใช้เวลารักษานานๆ ยิ่งชาวต่างชาติ ค่ารักษาพยาบาลยิ่งแพง แต่ปัญหานั้นจะหมดไป หากมี ประกันสุขภาพชาวต่างชาติ ที่แพงก็มีเหตุอยู่เหมือนกัน
- ค่าการปรับระบบเป็นภาษาอังกฤษ (ค่าเอกสารทุกอย่าง รวมทั้งฉลากยา)
- ค่าล่าม
- ค่าเอกสารติดต่อสถานทูต
- ค่าความเสี่ยงทางการเงิน (เช่น การเบิกประกัน เป็นต้น)
- ค่ายา
- การให้เลือด
- ขนาดของสรีระ
เนื่องจากชาวต่างชาติ จะคุ้นเคยกับการใช้ยา Original ในประเทศตัวเอง (แน่นอนว่าราคาแพง) และบางครั้งไม่มีในระดับโรงพยาบาลชุมชนของประเทศไทย ทำให้ต้องสั่งยามาโดยเฉพาะ ส่งผลให้ค่ารักษาพยาบาลแพงขึ้น
รวมไปถึง คนไข้ชาวต่างชาติ มีร่างกายที่สูงใหญ่กว่าคนไทย ทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์ทางการแพทย์บางชนิด เช่น เตียงหามผู้ป่วย ฯลฯ ทำให้โรงพยาบาลต้องซื้อเตียงชนิดพิเศษรองรับเฉพาะผู้ป่วยชาวต่างชาติโดยเฉพาะ จึงทำให้ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ คนไทยจะมีเลือด กลุ่ม Rh- แค่ 0.6% แต่ในชาวต่างชาติมีมากกว่า 10–20 เท่า ทำให้บางโรงพยาบาลต้องซื้อเลือดมาเพิ่ม ส่งผลให้ค่ารักษาพยาบาลแพง นั่นเอง
[rabbitads slug=glossary-health]
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ ก็เป็นเพียงการยกตัวอย่างเท่านั้น เพราะการที่ชาวต่างชาติย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในประเทศไทย ก็มีความแตกต่างมากพออยู่แล้ว ทั้งเรื่องอาหารการกิน การใช้ชีวิต เป็นต้น ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลย ที่ค่ารักษาพยาบาลของชาวต่างชาติจะแพงกว่าคนไทย
แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่เรื่องราคา แต่เป็นเรื่องชีวิตต่างหาก เพราะฉะนั้น หากคุณพบว่าที่โรงพยาบาลแห่งนั้นมีหมอเก่งๆ ที่สามารถรักษาคนรู้จัก หรือครอบครัวญาติพี่น้องที่เป็นชาวต่างชาติได้ ก็ควรไปรักษา ณ ที่โรงพยาบาลแห่งนั้น ถึงแม้ว่าโรงพยาบาลแห่งนั้นจะเป็นโรงพยาบาลเอกชนราคาแพงก็ตามแต่ เพราะชีวิตมีค่ามากกว่าเงินทองนะคะ
- BNH Hospital
- Bumrungrad International Hospital
- Samitivej Sukhumvit Hospital
- Bangkok International Hospital
- Bangkok Christian Hospital
- Central General Hospital
- Phyathai Hospitals
- Praram 9 Hospital
- DYM International Clinic
จริงๆ แล้ว หากคนไข้ชาวต่างชาติ มีประกันสุขภาพชาวต่างชาติ ค่ารักษาก็จะถูกจ่ายเป็นเงินสดน้อยลง หรือไม่ต้องจ่ายเลยก็ได้ เพราะใช้สิทธิ์จากประกันนั่นเอง