หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บัตรทอง)
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือสิทธิบัตรทอง เป็นหนึ่งในสวัสดิการของรัฐที่ช่วยเหลือเรื่องค่ารักษาพยาบาลของเราอย่างหนึ่ง
“หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า” เป็นชื่อเต็มของสิทธิที่เราต่างคุ้นเคยและได้ยินกันบ่อยๆว่า "บัตรทอง" หรือ "สิทธิ 30บาทรักษาทุกโรค" เป็นหนึ่งในสวัสดิการของรัฐที่ช่วยเหลือเรื่องค่ารักษาพยาบาลของเราอย่างหนึ่ง
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คือ หนึ่งในสวัสดิการรักษาพยาบาล ที่รัฐบาลจัดให้แก่ประชาชน โดยที่เราต้องไปลงทะเบียนสมัครกับหน่วยงานที่กำหนด และทางหน่วยงานจะให้เราเลือกโรงพยาบาลที่อยู่ในใกล้บ้าน ที่เราจะสามารถใช้สิทธิ์ได้ และเราสามารถเลือกใช้สิทธิ์ได้เพียง 1 โรงพยาบาลเท่านั้น
-
ประชาชนคนไทยทุกคน ที่ไม่ได้เป็นข้าราชการหรือทำงานรัฐวิสาหกิจ และไม่ได้เป็นผู้ประกันตนของกองทุนประกันสังคม (สิทธิ์กองทุนประกันสังคม)
-
เด็กแรกเกิดที่ไม่มีประกันสุขภาพเด็กที่พ่อแม่ซื้อให้
-
ลูกของผู้ที่เป็นข้าราชการ ซึ่งเป็นลูกที่มีอายุเกิน 20 ปี หรือแต่งงานแล้ว เพราะถ้าอายุไม่เกิน 20 ปีและยังไม่ได้แต่งงาน สามารถเบิกค่ารักษาต่างๆในสิทธิ์ข้าราชการของพ่อแม่ได้
-
ลูกของข้าราชการ ตั้งแต่คนที่ 4 เป็นต้นไป เพราะสิทธิ์ลูกข้าราชการสามารถใช้ได้สูงสุดแค่ 3 คนเท่านั้น
-
ข้าราชการที่เกษียณ ก่อนกำหนด และไม่ได้รับบำเน็จบำนาญ
-
สามารถเช็คสิทธิได้ผ่านทางเว็บไซต์ของ สปสช. >> คลิกที่นี่ <<
-
ใช้สิทธิได้เฉพาะ โรงพยาบาลที่เราเลือกไว้เท่านั้น (เรียกว่า “หน่วยบริการประจำ”)
-
แต่สามารถ ขอเปลี่ยนโรงพยาบาลได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อปี โดยแจ้งได้ที่สถานที่ลงทะเบียน เพียงแค่นำบัตรประชาชนกับทะเบียนบ้านไปแจ้ง ซึ่งจะสามารถเริ่มใช้บริการของโรงพยาบาลใหม่ได้ประมาณ 1 เดือนหลังแจ้ง
-
ยกเว้น กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน ที่เราสามารถใช้สิทธิ์ในโรงพยาบาลใดๆก็ได้
-
สามารถ ตรวจสอบรายชื่อโรงพยาบาลบัตรทองกรุงเทพฯ ได้ผ่านทางเว็บไซต์ของ สปสช. คลิกที่นี่ หรือ โทรสอบถามได้ทาง 1330
-
เจ็บป่วยทั่วไป
-
เจ็บป่วยฉุกเฉิน
-
การบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
-
กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน 3 กองทุน นิยาม : เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ์
[rabbitads slug=glossary-health]
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้บริการที่ครอบคลุมเรื่องสุขภาพต่างๆ คือ
-
สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (วางแผนการมีลูก, ฝากครรภ์, ฉีดวัคซีน, ตรวจร่างกาย)
-
คลอดบุตร
-
ทันตกรรม หรือ การดูแลรักษาช่องปาก
-
ตรวจ, วินิจฉัย,รักษาโรค
-
ค่ายาและเวชภัณฑ์
-
ค่าอาหารและห้องสามัญ
-
การจัดการส่งต่ออาการเจ็บป่วยให้หน่วยบริการอื่น
-
บริการแพทย์แผนไทย (การรักษาด้วยสมุนไพร, นวด,ประคบ)
-
บริการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้พิการ
-
ผสมเทียมเพื่อให้มีบุตร
-
ผ่าตัดเปลี่ยนเพศ
-
การบำบัดฟื้นฟูผู้ที่ติดยาเสพติด
-
ทันตกรรมเพื่อความสวยความงาม เช่น การจัดฟัน
ถ้าได้ลงทะเบียนแล้วสามารถยื่นบัตรประชาชนให้กับทางเจ้าหน้าที่ได้เลย เพราะในปัจจุบันไม่จำเป็นที่จะต้องยื่นบัตรทองแล้ว