โรคร้ายแรง
คำนิยามของโรคร้ายแรงของประกันชีวิตทั้ง 50 โรค
หลายๆ คนมักจะพบเจอกับคำว่า โรคร้ายแรง 50 โรคที่ประกันไม่คุ้มครอง แต่สามารถทำประกันโรคร้ายแรงเพิ่มได้หลังจากที่เราได้ซื้อประกันชีวิตหลักไปแล้ว และบางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมเราถึงเรียกโรคเหล่านี้ว่า โรคร้ายแรง กันนะ วันนี้เรามี "คำนิยามเกี่ยวกับโรคร้ายแรง" จากสมาคมประกันชีวิต มาฝากกันค่ะ
คำนิยามโรคร้ายแรง มีหัวข้อหลักๆคือ
การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน คือ ความสามารถในการปฏิบัติภารกิจหลักประจำวันของคนปกติ 6 ชนิด ซึ่งจะนำสิ่งเหล่านี้มาเป็นเกณฑ์ทางการแพทย์ในการประเมินผู้ป่วยที่ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจดังกล่าวได้ ดังนี้
- ความสามารถในการเคลื่อนย้าย เช่น การเคลื่อนย้ายจากเก้าอี้ไปกลับเตียงได้ด้วยตนเองได้ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากผู้อื่นหรืออุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆ
- ความสามารถในการเดินหรือเคลื่อนที่ เช่น สามารถเดินจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องได้ด้วยตนเอง
- ความสามารถในการแต่งกาย เช่น สามารถสวมหรือถอดเสื้อผ้าได้ด้วยตนเอง
- ความสามารถในการอาบน้ำ เช่น อาบน้ำได้เองและยังรวมไปถึงการเข้าออกจากห้องน้ำได้เอง
- ความสามารถในการรับประทานอาหาร เช่น รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
- ความสามารถในการขับถ่าย
การจัดระดับความผิดปกติของหัวใจของ New York Hearth Association (NYHA) Classification of Cardiac Impairment คือ เกณฑ์การจัดระดับความผิดปกติของหัวใจ โดยอ้างอิงจาก New York Heart Association เป็นมาตรฐานสำหรับการประเมินความผิดปกติของหัวใจเมื่อเทียบกับความสามารถในการมีกิจกรรมประจำวันต่างๆ 4 ระดับ คือ
- ระดับ1 : สามารถปฏิบัติกิจวัติประจำวันได้โดยไม่จำกัดและไม่ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น อ่อนเพลีย หายใจหอบเหนื่อยหรือเจ็บหน้าอก
- ระดับ2 : สามารถปฏิบัติกิจวัติประจำวันได้โดยมีข้อจำกัดเล็กน้อย เช่น มีอาการอ่อนเพลีย หายใจหอบเหนื่อยหรือเจ็บหน้าอก ซึ่งคนปกติจะไม่มีอาการดังกล่าว
- ระดับ3 : สามารถปฏิบัติกิจวัติประจำวันได้โดยมีข้อจำกัดอย่างมาก เมื่อมีการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเพียงเล็กน้อย ก็ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติเช่น
- ระดับ4 : ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันใดๆได้เลย เนื่องจากมีอาการอ่อนเพลีย หายใจหอบเหนื่อยแม้ในขณะพัก
[rabbitads slug=glossary-life]
โรคร้ายแรง ทั้ง 50 โรค ได้แก่
- มะเร็ง (Cancer)
- โรคหัวใจวาย (Heart Attack)
- โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- การศัลยกรรมหลวดเลือดเลี้ยงหัวใจ (Coronary Artery Surgery)
- ไตวาย (Kidney Failure)
- การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะสำคัญ (Major Organ transplantation)
- อัมพาตของกล้ามเนื้อแขนหรือขา (Paralysis)
- ตาบอด (Blindness)
- การผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจ (Heart Value Surgary Repair)
- การเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (Heart Value Surgary Replacement)
- การศัลยากรรมหลอดเลือดแดงใหญ่ (Surgary for a disease of Aorta)
- โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease)
- ภาวะการสลายตัวเพิ่มขึ้นของเซลล์ประสาท (Amyotrophic Leteral Sclerosis)
- โรคโลหิตจางจากไขกระดูกไม่สร้างเม็ดโลหิต (Aplastis Anaemia)
- โรคเยื่อหุ้มสมองอัพเสบเฉียบพลันจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Maningitis)
- เนื้องอกในสมอง (Benign Brain Tumour)
- โรคปอดระยะสุดท้าย ZChronic lung disease)
- ภาวะหมดสติ (Coma)
- การสูญเสียการได้ยินอย่างสมบูรณ์ (Loss of Hearing)
- โรคไข้สมองอักเสบ (Encephalitis)
- โรคไวรัสตับอัพเสบขั้นรุนแรง (Fulminant Viral Hepatitis)
- การสูญเสียแขนขา (Loss of Limbs)
- การสูญเสียความสามารถในการพูดอย่างสมบูรณ์ (Loss of Speech)
- แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกเป็นบริเวณกว้าง (Major Burns)
- การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง (Major Head Injury)
- โรคเซลล์ประสาทการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Motor Neuron Disease)
- โรคกล้ามเนื้อเสื่อม (Muscular Dystrophy)
- โรคระบบประสาทพาร์กินสัน (Parkinson's Disease)
- โรคแรงดันในหลอดเลือดแดงปอดสูงโดยหาสาเหตุไม่ได้ (Primary Pulmonary Arterial Hypertension)
- โรคเนื้อเยื่อแข็งตัวโดยทั่วไป (Multiple Sclerosis)
- โรคโปลิโอ (Poliomyelitis)
- โรคซิสเต็มมิค ลูปูส อิริเธมาโตซูส (Systemic Lupus Erythematosus or S.L.E.)
- โรคตับวาย (Liver Failure)
- โรคลำไส้อักเสบที่เป็นแผล (Severe Ulcerative Colitis or Crohn's disease)
- โรคถุงน้ำในไต (Medullary Cystic Disease)
- ภาวะตับอ่อนอักเสบที่กลับเป็นซ้ำและเรื้อรัง (Chronic Relapsing Pancreatitis)
- การสูญเสียการดำรงชีพอย่างอิสระ (Loss of Independent Existence)
- ภาวะข้ออัพเสบรูมาตอยด์ชนิดรุนแรง (Severe Rheumatoid Arthritis)
- ภาวะอะแพลลิก (Apallic Syndrome or Vegetative State)
- โรคเท้าช้าง (Elephantiasis)
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiomyopathy)
- โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่ต้องรักษาโดยการผ่าตัด (Cerebral Aneurysm Requiring Braing Surgery)
- การฉีกขาดของรากประสาทต้นแขน (Multiple Root Avulsions of Brachial Plexus)
- โรคหลอดเลือดสมองที่ต้องได้รับการผ่าตัดลอกหลอดเลือดแดงคาโรติด (Stroke Requiring Carotid Endarterectomy Surgery)
- การผ่าตัดกระดูกสันหลังคดที่ไม่ทราบสาเหตุ (Surgery for Idionpathic Scoliosis)
- โรคหนังแข็งชนิดลุกลาม (Progressive Scleroderma or Diffuse systemic sclerosis/scleroderma)
- โรคเนื้อเยื่อพังผืดอัพเสบติดเชื้อและเป็นเนื้อตาย (Necrotisinc Fasciitis)
- โรคคาวาซากิที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนของหัวใจ (Kawasaki Dissease with Heart Complication)
- โรคไอเซนเมนเกอร์ (Eisenmenger's syndrome)
- โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenis Gravis)