พรบ.รถจักรยานยนต์
พรบ.รถจักรยานยนต์ คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กฎหมายบังคับว่ารถมอเตอร์ไซค์ทุกคันต้องจดทะเบียนกับกรมการขนส่ง ถ้าไม่ทำก็ผิดกฎหมาย ถูกปรับไม่เกิน 10,000 บาท
พรบ.รถจักรยานยนต์ อย่าคิดว่ารถเล็กๆ อย่างรถมอเตอร์ไซค์จะไม่มีอะไรคุ้มครอง ในเมื่อมีประกันภาคสมัครใจ หรือประกันรถหายให้มอเตอร์ไซค์ ใช่ว่า พรบ.รถจักรยานยนต์ที่ปกป้องสิทธิต่างๆ จะไม่มี
ทุกคนน่าจะรู้ดีว่าประกันรถยนต์มีด้วยกันสองแบบ คือ ประกันภาคสมัครใจ กับ พรบ. ภาคบังคับ ถ้าคิดว่าประกันสมัครใจ (ชั้น 1,ชั้น 2,ชั้น 2+,ชั้น 3,ชั้น 3) ไม่สำคัญก็ไม่เป็นไร หากเกิดอุบัติเหตุหรือการสูญเสียขึ้นมา แล้วรองรับความเสี่ยงไหวก็โอเค แต่ พรบ รถยนต์ภาคบังคับคือกฎหมายที่รถทุกคันต้องทำ ซึ่งรถมอเตอร์ไซค์เองก็ต้องทำ พรบ รถจักรยานยนต์เหมือนกัน
พรบ.รถจักรยานยนต์ คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กฎหมายบังคับว่ารถมอเตอร์ไซค์ทุกคันต้องจดทะเบียนกับกรมการขนส่ง ถ้าไม่ทำก็ผิดกฎหมาย แถมยังถูกปรับไม่เกิน 10,000 บาท แต่ถ้ามี พรบ. รถจักรยานยนต์แล้วไม่ติดให้เห็นจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
จะเห็นได้ว่า พรบ.รถจักรยานยนต์ มีจุดประสงค์เดียวกับ พรบ. รถยนต์ เป็นการปกป้องสิทธิประโยชน์ของผู้ใช้ถนนทุกคน หมายถึงว่าจะไม่ปกป้องหากรถเสียหายจาก การชน รถน้ำท่วม เพราะ พรบ มอเตอร์ไซค์ จะปกป้องคนอื่นๆ บนท้องถนนซะมากกว่า (ดังนั้น จึงต้องทำทั้ง พรบ มอเตอร์ไซค์ภาคบังคับ และภาคสมัครใจยังไงล่ะ)
สำหรับอัตราค่าเบี้ย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
-
ขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 75cc จ่ายเบี้ยประกัน 161.57 บาท
-
ขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 125cc ต้องจ่ายเบี้ยประกัน 323.14 บาท
-
ขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 150cc ต้องจ่ายเบี้ยประกัน 430.14 บาท
-
ขนาดเครื่องยนต์เกิน 150cc ต้องจ่ายเบี้ยประกัน 645.21 บาท
-
รถจักรยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ต้องจ่ายเบี้ยประกัน 323.14 บาท
[rabbitads slug=glossary-motocycle]
แต่ถ้าเป็นมอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถให้เช่า หรือรถสาธารณะ สามารถแบ่งออกเป็นดังนี้
-
ขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 75cc จ่ายเบี้ยประกัน 161.57 บาท
-
ขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 125cc จ่ายเบี้ยประกัน 376.64 บาท
-
ขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 150cc ต้องจ่ายเบี้ยประกัน 430.14 บาท
-
ขนาดเครื่องยนต์เกิน 150cc ต้องจ่ายเบี้ยประกัน 645.21 บาท
ไม่ว่าจะอย่างไร รถมอเตอร์ไซค์ ก็ต้องทำ พรบ. รถจักรยานยนต์ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งผู้มีหน้าที่ทำประกันภัย ได้แก่ เจ้าของผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถ หากไม่ทำก็ไม่สามารถยื่นภาษีได้เหมือนกับยานพาหนะทางบกชนิดอื่นๆ ซึ่งการทำพรบ รถจักรยานยนต์ หรือ พรบ รถยนต์ สามารถทำผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้ว
คือ การนำรถจักรยานยนต์ไปตรวจสภาพก่อนต่อ พรบ รถยนต์ การนำรถเข้าตรวจสภาพประจำปีนั้น เจ้าของรถต้องนำรถไปตรวจสภาพล่วงหน้า 3 เดือนก่อนที่ภาษีรถยนต์ประจำปีจะหมดอายุ สำหรับรถมอไซต์คันไหนที่มีอายุไม่ถึง 5 ปีก็ข้ามไปได้เลย
แต่ถ้าเกินก็ควรตรวจสภาพรถก่อนต่อ พรบ รถจักรยานยนต์ และจะเสียค่าบริการในการตรวจสภาพรถยนต์อยู่ที่ 60 บาท เมื่อได้ใบรับรองการตรวจสภาพจาก ตรอ. แล้วก็นำไปต่อภาษีรถได้ทันที
จะเห็นได้ว่า ทั้ง พรบ. รถจักรยานยนต์ และ ประกันรถมอเตอร์ไซค์** ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะถ้ามี พรบ บังคับก็ช่วยปกป้องสิทธิ์ของตัวเราและคนอื่น มีประกันรถมอเตอร์ไซค์ก็ป้องกันรถของเรา เช่น รถหายขึ้นมา หรือต้องใช้ประกันจะไม่ได้ต้องควักเนื้อตัวเองให้ยุ่งยาก