การมีธุรกิจเป็นของตัวเองและการได้เป็นเจ้าของธุรกิจ คือความฝันและความตั้งใจของใครหลายคน การดูแลและบริหารธุรกิจสักอย่างหนึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สิ่งที่ยากกว่าอาจจะเป็น การเริ่มต้นทำธุรกิจ ซะมากกว่า เพราะ กว่าจะมีธรุกิจเป็นของตัวเองได้ เราต้องใช้ความพยายามในการวางแผนว่าจะทำอะไร ต้องใช้เอกสารอะไรในการเริ่มต้นบ้าง และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เราจะหาทุนจากไหนมาเริ่มต้นธุรกิจที่ต้องการ
สินเชื่อเพื่อุรกิจ คืออะไร?
สินเชื่อเพื่อธุรกิจ เป็นสินเชื่อสำหรับเจ้าของกิจการ ที่จะนำไปใช้พัฒนาบริษัทหรือองค์กรของตัวเอง โดยสามารถกู้เงินเพื่อไป ซื้ออุปกรณ์ เครื่องจักร เป็นค่าปรับปรุงตกแต่งสำนักงานหรือขยายธุรกิจ เป็นต้น
ซึ่งการขอ สินเชื่อเพื่อธุรกิจ มีหลากหลายรูปแบบ เหมาะสำหรับทั้งธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น
- สินเชื่อหมนุเวียน
- สินเชื่อระยะยาว
- สินเชื่อเพื่อการค้าต่างประเทศ
- สินเชื่อเพื่อการนำเข้าส่งออก
เงื่อนไขในการพิจารณาสินเชื่อเพื่อธุรกิจ
การขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจนั้น ไม่ได้ต่างจาก การขอสินเชื่อส่วนบุคคล ปกติมากนัก แต่สิ่งที่สำคัญ คือ ผู้ขอสินเชื่อนั้นต้องเป็นเจ้าของธุรกิจ และต้องการกู้เงินไปใช้ในธุรกิจ บริษัทหรือองค์กรเท่านั้น
- สำเนาบัตรประชาชน/บัตรข้าราชการ, สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล/ทะเบียนสมรส/ทะเบียนหย่า/ใบมรณบัตร (ถ้ามี)
- Statement ของบริษัท / ส่วนตัว ย้อนหลัง 12 เดือน ทุกธนาคาร
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของกิจการ ( อายุไม่เกิน 1 เดือน )และหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ ( บอจ.2), ทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้น ( บอจ.5 ) (กรณีบริษัท)
- ทะเบียนพาณิชย์ / ทะเบียนการค้า / ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีหนังสือรับรองการจดทะเบียน)
- เอกสารทางภาษีการค้า
- แผนที่ตั้งกิจการ
- เอกสารใบเสร็จ / บิลทางการค้า
- รายการสต็อคสินค้า
- งบการเงินย้อนหลัง 3 ปี
องค์ประกอบในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเพื่อธุรกิจ
เมื่อเจ้าของธุรกิจยื่นเอกสารการขอกู้สินเชื่อทั้งหมดให้กับธนาคารแล้ว ทางธนาคารจะมีหลักในการประกอบ การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ ดังต่อไปนี้
- จำนวนเงินที่ต้องการจะกู้ คือ จำนวนเงินที่ผู้ขอกู้ยื่นขอกับธนาคาร ซึ่งไม่ควรมากหรือน้อยเงินตความสามารถในการชำระหนี้ของตนและความสามารถของกิจการ
- มูลค่าของหลักประกัน คือ หลักประกันหากผู้ประกอบการไม่สามารถใช้เงินได้ตามสัญญา ซึ่งทางธนาคารจะยอมรับ ที่ดินหรือสถานที่ประกอบการ
- ระยะเวลาในการชำระหนี้ คือ ระยะเวลาที่ผู้ประกอบการจะต้องชำระหนี้ให้กับธนาคาร
- อัตราดอกเบี้ยธนาคาร คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคาราจะได้รับบเมื่อปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบการ
- จำนวนเงินที่ต้องชำระคืนต่อเดือน คือ เงินที่ผู้ประกอบการจะต้องชำระคืนต่อเดือน ซึ่งเป็นเงินที่ธนาคารจะได้นำมาหมุนเวียนใช้
- รายได้สุทธิเฉลี่ยของกิจการต่อเดือน คือ รายได้สุทธิต่อเดือนของผู้ประกอบการ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะ มันจะแสดงถึงความสามารถในการใช้หนี้ ของผู้ประกอบการนั่นเอง
ซึ่งนอกจากปัจจัยที่กล่าวมาแล้ว ขนาดของธุรกิจหรือความสัมพันธ์ของธุรกิจที่มีต่อธนาคารก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะส่งผลต่อการอนุมัติสินเชื่อทางธุรกิจอีกด้วย
ปฏิเสธไม่ได้ว่า การทำธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ เก่าหรือใหม่ เงินทุน ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญของธุรกิจ เพราะจะทำให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าหรือขยับขยายใหญ่โตขึ้นได้
ถ้าไม่มีเงินมาค้ำจุนแล้ว มันก็ยากที่จะดำเนินการธุรกิจต่อไปได้อย่างราบรื่น จึงเป็นเหตุผลที่เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการต่างหันมาพึ่งธนาคารหรือสถาบันการเงินในการ ยื่นขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจ แต่มันไม่ได้ง่ายเหมือนกับการเดินไปยืมเงินจากเพื่อนฝูงหรือญาติมิตร เพราะ สถาบันทางการเงินต่างก็มีหลักเกณฑ์มากมายมาประกอบ การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ เพื่อธุรกิจ ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ขอจะได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะยากจนเป็นไปไม่ได้เลย
เทคนิคกู้เงินทำธุรกิจอย่างไร ให้ธนาคารอนุมัติ
-
สร้างความเชื่อถือให้กับธุรกิจ
ก่อนที่จะอนุมัติ การขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจ ธนาคารหรือสถาบันการเงินจะต้องทำการตรวจสอบ
1. ประวัติทางการเงิน
2. ประวัติส่วนตัวของเราในฐานะของเจ้าของธุรกิจและประวัติการดำเนินธุรกิจ
3. เครดิตบูโร
นอกจากนั้น ยังจะต้องดูว่าผู้ขอกู้ในฐานะของผู้ประกอบการนั้น มีความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ในการทำธุรกิจมากแค่ไหน โดยจะต้องพิจารณาด้วยว่าธุรกิจของผู้ขอสินเชื่อเป็นธุรกิจที่ขายสินค้าหรือให้บริการประเภทใด รวมถึงดูระยะเวลาที่ดำเนินธุรกิจมาแล้วด้วย
ดังนั้นถ้าผู้ประกอบการมีความน่าเชื่อถือ เช่น ไม่เคยมียอดค้างชำระหนี้ ไม่มีประวัติเช็คเด้ง ก็จะมีโอกาสได้รับอนุมัติมากขึ้น นอกจากนั้นธุรกิจที่ดำเนินกิจการมาเป็นเวลานาน ก็จะมีคนรู้จักในวงกว้าง ส่งเสริมภาพลักษณ์ให้ดูน่าเชื่อถือมากขึ้นและได้รับการอนุมัติง่ายขึ้นด้วย
-
เตรียมแผนการดำเนินธุรกิจไว้
การมีแผนดำเนินธุรกิจในอนาคต รวมถึงการจัดทำบัญชีของธุรกิจจะทำให้ธนาคารสามารถตรวจสอบสถานะทางธุรกิจของเราได้ดีขึ้น ทำให้รู้ว่าผลประกอบการที่ผ่านมาเป็นอย่างไรและสภาพคล่องในธรุกิจเป็นไปในทิศทางใด ส่งผลให้ผู้ประกอบการได้รับการอนุมัติสินเชื่อทางธุรกิจมากขึ้น
-
ทำรายการเดินบัญชีอย่างสม่ำเสมอ
การทำบัญชีอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ธนาคารทราบการเคลื่อนไหวของกระแสเงินสดในธุรกิจของเรา ดังนั้น เมื่อมีรายได้เข้ามา ผู้ประกอบการจึงควรนำไปฝากธนาคารอย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญ คือ ต้องแยกสมุดบัญชีเงินฝากของธุรกิจออกจากบัญชีส่วนตัวด้วย
-
เก็บเอกสารสำคัญทางธุรกิจไว้ให้ดี
ไมว่าจะเป็นใบจดทะเบียนพาณิชย์ หลักฐานการเสียภาษี ในเสร็จรับเงินที่ออกให้ลูกค้าหรือจากการซื้อของมาดำเนินธุรกิจต่างๆ ใบสั่งซื้อสินค้า และอื่นๆ เพราะเอกสารเหล่านี้ นอกจากจะเป็นหลักฐานเพื่อใช้ขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจกับธนาคารแล้ว ยังต้องเก็บไว้ตามกฏหมายเพื่อประกอบการทำบัญชีของธุรกิจด้วย
วิธีเหล่านี้ก็เป็นเพียงแค่ตัวช่วยที่จะทำให้การขออนุมัติง่ายขึ้นเท่านั้น จะได้รับอนุมัติหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับที่สถาบันการเงิน ซึ่งเพียงแค่คุณไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อจากธนาคารหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อจากอีกทีหนึ่งเสมอไป
ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อสังคม
ธนาคารออมสิน ถือกำเนิดโดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ที่ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการเก็บรักษาทรัพย์ให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย โดยทรงตราพระราชบัญญัติจัดตั้งคลังออมสินขึ้น เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 และเปิดดำเนินการในรูปแบบธนาคารตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2490
104 ปีที่ธนาคารออมสินดำเนินธุรกิจมา ก็เพื่อที่จะมุ่งมั่นพัฒนาการให้บริการด้านการเงิน ที่สามารถตอบสนองความต้องการให้กับคนไทยในทุกด้าน และเดินหน้าสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เป็นสังคมแห่งการแบ่งปันและช่วยเหลือเกื้อกูล เพื่อนำมาซึ่งอนาคตที่มั่นคง มั่งคั่ง และความสุขที่ยั่งยืนของประเทศและประชาชน พร้อมทั้งสร้างสรรค์ นวัตกรรมบริการทางการเงินที่มีคุณค่า ตอบโจทย์ด้านการเงินของทุกกลุ่มลูกค้า นำมาซึ่งความพึงพอใจสูงสุดของผู้ใช้บริการ เพื่อเป็นธนาคารของคนไทย....มากกว่าการธนาคาร ธนาคารเพื่อสังคม
สินเชื่อผู้ประกอบการรายใหม่ จาก ธนาคารออมสิน
สินเชื่อเพื่อธุรกิจที่มีความโดนเด่น คือ เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจรายใหม่ ที่ต้องการจะกู้เงินเพื่อเป็นเงินทุนหรือเงินหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ
คุณสมบัติของผู้กู้สินเชื่อผู้ประกอบการรายใหม่
- มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ และเมื่อรวมอายุผู้กู้ กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้ ต้องไม่เกิน 60 ปี
- เป็นผู้ที่ผ่านการฝึกอาชีพจากหน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานเอกชน ที่ส่วนราชการรับรองแล้วหรือมีประสบการณ์พื้นฐานในอาชีพที่จะประกอบการ
- ไม่เป็นลูกค้าสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน หรือโครงการสินเชื่อธุรกิจห้องแถวในขณะยื่นกู้
- เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่แน่นอนสามารถติดต่อได้
- มีสถานที่ประกอบอาชีพที่แน่นอน
- ประกอบธุรกิจที่ก่อให้เกิดรายได้
- ต้องทำประกันชีวิต เพื่อประกันสินเชื่อ ตามที่ธนาคารกำหนด
การค้ำประกัน
- สมุดฝากเงินออมสินทุกประเภท หรือสลากออมสินพิเศษ
- ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
- หลักประกันตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
บุคคลค้ำประกัน
- ต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ และเมื่อรวมอายุผู้ค้ำประกันกับระยะเวลาชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 60 ปี
- เป็นข้าราชการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 5 ขึ้นไป พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานองค์การของรัฐ ที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาท ขึ้นไป จำนวน 2 คน
เอกสารผู้ค้ำประกัน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ค้ำ และคู่สมรส
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
- หนังสือรับรองการเป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ / พนักงานองค์การของรัฐ
วงเงินและระยะเวลาชำระเงินกู้
สินเชื่อผู้ประกอบการรายใหม่ของธนาคารออมสินนั้น อนุมัติให้กู้ได้ตามความจำเป็นหรือความเป็นไปได้ของธุรกิจและความสามารถในการชำระหนี้คืนรายละไม่เกิน 200,000 บาท โดยมีอัตราดอกเบี้ย MLR บวกเพิ่มร้อยละ 2 และมีระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี หรือ 60 เดือน โดยการชำระคืน จะใช้บุคคลหรือหลักทรัพย์ (อสังหาริมทรัพย์/สังหาริมทรัพย์) หรือหลักประกันตามโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนค้ำประกัน
ธนาคารไทยพาณิชย์
บริษัท แบงก์สยาม กัมมาจล ทุนจำกัด (Siam Commercial Bank, Limited) ดำเนินธรุกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ มาตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2449 และได้ กลายมาเป็น "ต้นแบบธนาคารไทย" โดยดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ ธนาคารที่น่าชื่นชมที่สุด และค่านิยมขององค์กร iSCB คือ
- i innovation นวัตกรรม นำหน้า
- S Social Responsibility สร้างคุณค่า สู่สังคม
- C Customer Focus ลูกค้า ต้องมาก่อน
- B Building our people สร้างองค์กร คือ สร้างคน
สินเชื่อธุรกิจรายย่อย กล้าคิด ก็กล้าให้ จาก ธนาคารไทยพาณิชย์
คือสินเชื่อธุรกิจ สำหรับผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจรายย่อยที่ต้องการจะเพิ่มทุนหรือต่อยอดธุรกิจของตัวเอง มีสโลวแกนว่า “กล้าคิด ก็กล้าให้” กู้ง่าย ได้ไว โดนใจร้านเล็ก
เป็นสินเชื่อที่ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายและเฉพาะตัวของธุรกิจรายย่อย ที่แตกต่างจาก ธุรกิจรายใหญ่ เช่น
- เจ้าของกิจการที่ต้องการเงินทุนสูงกว่าหลักประกัน (สูงสุดถึง 200% ของมูลค่าหลักประกัน**)
- เจ้าของกิจการที่ใช้วงเงินกับสถาบันการเงินอื่นอยู่ และต้องการอัตราดอกเบี้ยพิเศษ
- เจ้าของกิจการหรือบุคคลทั่วไปที่มองเห็นโอกาสใหม่ๆ เพื่อแตกแขนงธุรกิจ
- เจ้าของกิจการที่ต้องการสินเชื่อธุรกิจที่ไม่ต้องมีหลักประกัน
- แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และสัตวแพทย์ ที่ต้องการประกอบกิจการ คลินิก หรือร้านยา
จุดเด่นของสินเชื่อธุรกิจรายย่อย กล้าคิด ก็กล้าให้
โดยสินเชื่อธุรกิจรายย่อย กล้าคิด ก็กล้าให้ ของธนาคารไทยพาริชย์นั้น มีจุดเด่น คือ วงเงินกู้ที่สามารถกู้ยืมได้สูงสุด 5 ล้านบาท และผ่อนชำระได้นานถึง 10 ปี นอกจากนั้นยังมีรูปแบบสินเชื่อให้เลือกถึง 2 แบบ แบ่งตามระยะเวลาการสิ้นสุดของสัญญา คือ
- สินเชื่อระยะยาว (Loan) สูงสุด 10 ปี
- สินเชื่อเพื่อเงินทุนหมุนเวียน (O/D) ตามแต่ลูกค้าจะแจ้งยกเลิกหรือธนาคารใช้สิทธิ ยกเลิกการให้สินเชื่อ
คุณสมบัติของผู้กู้
- ผู้ประกอบการธุรกิจ นิติบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป
- มีประสบการณ์ในการดำเนินกิจการอย่างน้อย 1 ปี
- มีที่ตั้งกิจการเป็นหลักแหล่ง สามารถแสดงแหล่งที่มาของรายได้ ได้อย่างชัดเจน
การค้ำประกัน
สำหรับการค้ำประกัน ของสินเชื่อเพื่อธุรกิจรายย่อยจากธนาคารพาณิชย์นั้น ใช้หลักประกันเป็น บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียม ที่ดินว่างเปล่า หรือบุคคลค้ำประกัน โดยบุคคลค้ำประกัน กรณีเป็นนิติบุคคลต้องมีการค้ำประกันโดยเจ้าของ และ/หรือผู้มีส่วนได้เสียสำคัญของกิจการเต็มวงเงินสินเชื่อ
ธนาคารกสิกรไทย
ธนาคารกสิกรไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2488 มีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท โดยในระยะแรกมุ่งเน้นลูกค้ารายย่อยที่เป็นเกษตรกร จากความมุ่งมั่นในการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดธนาคารก็มาถึงยุคที่สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์แบบและครบวงจร ซึ่งนำไปสู่การรวมธนาคารกสิกรไทยและบริษัทของธนาคารกสิกรไทย (K Companies) และได้กำหนด "K KASIKORNTHAI" เป็น สัญลักษณ์ ที่รับประกันคุณภาพและมาตรฐาน
นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือทางยุทธศาสตร์กับบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันผ่านช่องทางธนาคาร และเพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ธนาคารมุ่งมั่นพัฒนาองค์กรและ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินของธนาคารกสิกรไทย อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้บริการที่เป็นเลิศ ภายใต้คำขวัญ “บริการทุกระดับประทับใจ”
สินเชื่อไม่มีหลักประกัน จากธนาคารกสิกรไทย
เป็นสินเชื่อเพื่อธุรกิจรายย่อย ในโครงการพิเศษ ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ แต่มีข้อจำกัดด้านหลักประกัน โดยสำหรับสินเชื่อประเภทนี้ แค่มีบุคคลค้ำประกัน ก็สามารถขอสินเชื่อได้ง่ายๆ หมดเรื่องหลักทรัพย์อย่างแน่นอน
คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ
- นิติบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา สัญชาติไทย อายุระหว่าง 25 - 65 ปี
- มีประสบการณ์ดำเนินธุรกิจไม่น้อยกว่า 3 ปี
- มีประวัติทางการเงินที่ดีตามเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด
บุคคลธรรมดา
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้สมัคร คู่สมรสผู้สมัคร ผู้ค้ำประกัน
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร คู่สมรสผู้สมัคร ผู้ค้ำประกัน
- สำเนาทะเบียนสมรสหรือใบสำคัญหย่า ใบมรณะบัตรของคู่สมรส (ถ้ามี)
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ - นามสกุลของผู้สมัคร คู่สมรสผู้สมัคร ผู้ค้ำประกัน(ถ้ามี)
- สำเนาทะเบียนการค้า และ / หรือ เอกสารทางราชการอื่นๆ
- เอกสารแสดงรายได้ของกิจการ เช่น Statement, Bill การค้า
- เอกสารอื่นๆ ตามที่ธนาคารกำหนด
นิติบุคคล
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของ
1. กรรมการผู้จัดการ
2. ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล
3. ผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 20% ขึ้นไปทุกคน
4. ผู้ค้ำประกันทุกคน
5. ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
1. กรรมการผู้จัดการ
2. ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล
3. ผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 20% ขึ้นไปทุกคน
4. ผู้ค้ำประกันทุกคน
5. ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ - นามสกุลของกรรมการผู้จัดการ ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล ผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 20% ขึ้นไปทุกคน ผู้ค้ำประกันทุกคน ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ เจ้าของหลักประกัน (ถ้ามี)
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล (ไม่เกิน 3 เดือน)
- สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับของนิติบุคคล
- สำเนาทะเบียนผู้ถือหุ้น (ไม่เกิน 3 เดือน)
- งบการเงิน ฉบับยื่นสรรพากรปีล่าสุด และย้อนหลัง 2 ปี
- เอกสารการเสียภาษี หรือใบสรุปยอดขาย ยอดสั่งซื้อเป็นรายเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
- เอกสารแสดงรายได้ของกิจการ เช่น Statement, Bill การค้า
- บัตรประจำตัวผู้เสียภาษี (ถ้ามี)
- รายงานการประชุมของนิติบุคคลที่มีมติให้สมัครสินเชื่อกับธนาคาร
- เอกสารอื่นๆ ตามที่ธนาคารกำหนด
วงเงินสุงสุด
- นิติบุคคล สูงสุด 5 ล้านบาท
- บุคคลธรรมดา สูงสุด 3 ล้านบาท
ระยะเวลาการผ่อนชำระ
สูงสุด 4 ปี อัตราดอกเบี้ย + ร้อยละ 9 ต่อปี
บุคคลค้ำประกัน
สามารถเป็นใครก็ได้ทั้งพ่อ แม่ ลูก สามี และภรรยา หรืออื่นๆ