รายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อนิติบุคคล
สินเชื่อนิติบุคคล หรือ สินเชื่อสำหรับการประกอบธุรกิจ
สินเชื่อ มีด้วยกันหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเงินสด **สินเชื่อบ้าน หรือสินเชื่อนิติบุคคล เป็นต้น ซึ่งสินเชื่อทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสินเชื่อที่มีลักษณะในการนำไปใช้ที่แตกต่างกันไป
นิติบุคคลคือใคร นิติบุคคล คือ บุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้นเพื่อให้มีความสามารถ มีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบได้ตามกฎหมายเหมือนกับบุคคลธรรมดา แม้ว่านิติบุคคลจะมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา แต่ก็ไม่สามารถกระทำการเหมือนกับบุคคลธรรมดาได้ทุกเรื่อง เนื่องจากนิติบุคคลเป็นเพียงบุคคลสมมติที่ไม่มีชีวิต ร่างกาย และสติปัญญาเหมือนกับบุคคลธรรมดา ดังนั้นนิติบุคคลจึงต้องมี “ผู้แทนนิติบุคคล” เพื่อแสดงออกถึงสิทธิ หน้าที่ และความประสงค์ของนิติบุคคล
ใครบ้างคือนิติบุคคล
นิติบุคคลแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
- นิติบุคคลที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน สมาคม และมูลนิธิ
- นิติบุคคลที่บัญญัติไว้ในกฎหมายมหาชนอื่นๆ ได้แก่ วัด จังหวัด กระทรวง ทบวง กรม องค์การมหาชน เป็นต้น
สินเชื่อนิติบุคคลคืออะไร
จากความหมายของคำว่า นิติบุคคล ที่ได้กล่าวไปด้านบนจะทำให้เรารู้ความหมายของ สินเชื่อนิติบุคคล ได้ว่า สินเชื่อนิติบุคคล เป็นสินเชื่อสำหรับบริษัท ห้างหุ้นส่วน สมาคม มูลนิธิ และยังรวมไปถึง กระทรวง ทบวง กรม โดยสินเชื่อประเภทนี้ คือ สินเชื่อที่ทางนิติบุคคลจะมากู้ยืมเพื่อนำไปใช้สำหรับการประกอบธุรกิจต่างๆ เช่น
[rabbitads slug=gloassary-personal-loan]
- การกู้ยืมสินเชื่อเพื่อนำไปลงทุนทำธุรกิจใหม่
- การกู้ยืมสินเชื่อเพื่อนำเงินไปหมุนเวียน ขยาย ปรับปรุงกิจการ
- การกู้ยืมสินเชื่อเพื่อ Refinance ทรัพย์สินเพื่อเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ เป็นต้น
โดยในการขอกู้ยืมเราต้องมาพิจารณาอีกทีว่าธุรกิจของเราเป็นแบบขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ เพราะทั้งสองสิ่งนี้ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการขอสินเชื่อได้เหมือนกัน
เอกสารเกี่ยวกับกิจการ เช่น
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท/หุ้นส่วน พร้อม วัตถุประสงค์ของบริษัท
- บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
- ใบทะเบียนการค้า และทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20)
เอกสารทางการเงิน เช่น
- งบการเงินพร้อมหมายเหตุประกอบงบการเงิน ย้อนหลัง 3 ปี (งบส่งสรรพากร)
- สเตทเม้นทธนาคารทบัญชีออมทรัพย์บัญชีกระแส รายวัน บัญชีกู้เบิกเงินเกินบัญชี (โอดี.) ย้อนหลัง 12 เดือน
- เอกสารแสดงภาระหนี้ทุกประเภท เช่น สัญญาเงินกู้ สัญญาเช่าซื้อ สัญญาจํานอง
เอกสารเกี่ยวกับธุรกิจ เช่น
- ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4 *ถ้ามี) ใบ อ.ย. ใบรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม
- สําเนายื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) ยอนหลัง 12 เดือน
- ข้อมูลประวัติกิจการ (Profile)
- โครงสร้างองค์กร และประวัติผู้บริหาร
- รายละเอียดสินค้าและบริการ
- รายละเอียดรายได้หรือยอดขายเป็นรายเดือน
- รายชื่อลูกค้ารายใหญ่ 5-10 ราย
- ข้อมูลต้นทุนผลผลิต/ต้นทุนขาย
- ข้อมูลค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
สนใจสมัครสินเชื่อได้ที่ https://rabbitfinance.com/loan