บนโลกนี้มีอาชีพให้เลือกทำมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแม่ค้าออนไลน์ที่มีอิสระ หรือมนุษย์เงินเดือนเข้าออกบริษัทตรงตามเวลา โดยเงินเดือนที่ได้มาจะถูกเรียกว่าเงินได้พึงประเมิน และทุกคนที่มีเงินได้พึงประเมินต้องยื่นภาษีประจำปี คำถามต่อมาคือ เงินได้พึงประเมินมีกี่แบบ แล้วจะลดหย่อนภาษีได้อย่างไรบ้าง?
เงินได้พึงประเมินทั้ง 8 ประเภท
เพราะอาชีพที่ต่างกัน ความยากง่ายของต้นทุนที่ต่างกัน เพื่อความเป็นธรรมในการเสียภาษี (ไม่ว่าคุณจะใช้ประกัน iGen หรือประกันชีวิต i Protect S เพื่อลดหย่อนภาษีก็เถอะ) กฎหมายได้แบ่งเงินได้พึงประเมินออกเป็น 8 ประเภทเพื่อการคำนวณภาษีที่เป็นธรรมมากที่สุด ดังนี้
- เงินได้ประเภทที่ 1 คือเงินที่ได้จากการจ้างแรงงาน
- เงินได้ประเภทที่ 2 คือเงินที่ได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ
- เงินได้ประเภทที่ 3 คือเงินได้จากค่าลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร
- เงินได้ประเภทที่ 4 คือเงินได้จากดอกเบี้ยปันผล หรือดอกเบี้ยธนาคาร
- เงินได้ประเภทที่ 5 คือเงินได้จากค่าเช่าต่างๆ
- เงินได้ประเภทที่ 6 คือเงินได้จากวิชาชีพอิสระที่มีใบอนุญาต
- เงินได้ประเภทที่ 7 คือเงินได้จากการรับเหมา
- เงินได้ประเภทที่ 8 คือเงินได้จากการค้าขาย หรือเงินอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น
ไม่ว่าจะมีเงินได้ประเภทไหน เป็นแม่ค้าออนไลน์ มีอาชีพฟรีแลนซ์ หรือแม้กระทั่งเป็นมนุษย์เงินเดือนก็ต้องทำเรื่องยื่นภาษีอยู่ดี ยิ่งเป็นมนุษย์เงินเดือนแต่มีรายได้ค่อนข้างสูงยิ่งต้องทำเรื่อง เพราะกรมสรรพากรจะได้รู้ว่าเราเป็นผู้มีเงินได้แล้ว แล้วอะไรบ้างละ ที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้?
ประกันชีวิตใช้ลดหย่อนภาษีได้นะ
ต้องบอกก่อนว่าบริษัทประกันชีวิต หรือประกันชีวิตลดหย่อนภาษีมีหลายบริษัทมากๆ ซึ่งบริษัท กรุงไทย แอกซ่า หรือ Krungthai AXA ก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีประกันชีวิตลดหย่อนภาษีเหมือนกัน คือ ประกันออมทรัพย์ iGen และ ประกันคุ้มครองตลอดชีพ i Protect S ที่จะช่วยคุ้มครองชีวิต ช่วยออมเงิน และลดหย่อนภาษีด้วย
แต่ถ้าจะมองข้ามประกันชีวิตลดหย่อนภาษี กรุงไทยแอกซ่าไปก่อนก็ได้นะ เก็บไว้เป็นตัวเลือกสุดท้ายก็ยังดี เพราะยังมีวิธีลดหย่อนภาษีอีกมากนอกจากประกันชีวิต สิ่งที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้ คือ
1. ลดหย่อนส่วนบุคคล
เป็นสิทธิที่ผู้เสียภาษีทุกคนสามารถใช้ได้โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ซึ่งในปี พ.ศ. 2560 เราสามารถใช้สิทธิลดหย่อนส่วนบุคคลได้ถึง 60,000 บาทเลยทีเดียว
2. คู่สมรสไม่มีรายได้
กรณีนี้ใช้ได้กับ สามี-ภรรยา ที่มีการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่คู่สมรสของผู้ยืนภาษีต้องไม่มีเงินได้ โดยสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 60,000 บาท
3. คู่สมรสมีรายได้
กรณีที่คู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้เป็นของตัวเอง ให้นำมาหักลดหย่อนรวมกันได้ แต่ไม่เกิน 120,000 บาท
4. ค่าเลี้ยงดูบุตร
สามารถใช้สิทธิ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายรือบุตรบุญธรรมก็ตาม โดยสามารถทำการลดหย่อนได้ 30,000 บาทต่อบุตรหนึ่งคน แถมยังไม่มีการจำกัดจำนวนบุตรอีกด้วย
5. ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา
สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้ทั้ง บิดา-มารดา ของตนเองและคู่สมรส โดยใช้หักลดได้คนละไม่เกิน 30,000 บาท แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า บิดา-มารดา ต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และต้องมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีไม่เกิน 30,000 บาทเท่านั้น
6. ค่าเลี้ยงดูคนพิการ
หากเป็นผู้ดูแลคนพิการหรือทุพพลภาพทางกฏหมาย เราสามารถใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีได้คนละ 60,000 บาท โดยมีเงื่อนไข คือต้องเป็นผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมาย หรือเป็นบุคคลทุพพลภาพที่มีรายได้ไม่ถึง 30,000 บาทต่อปี
7. ค่าเบี้ยประกันชีวิต
สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่มีกรมธรรม์อายุ 10 ปีขึ้นไป หักลดหย่อนภาษีได้ตามจริงไม่เกิน 100,000 บาท ในส่วนค่าเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ ก็สามารถนำมาลดหย่อนได้ด้วยเช่นกัน โดยคิดตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 10,000 บาท
8. ค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา
เราสามารถใช้ค่าเบี้ยประกันสุขภาพของคู่สมรสหรือ บิดา-มารดา ในการหักลดหย่อนภาษีได้ตามจริงเท่าที่จ่าย แต่ต้องไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขกำหนดว่าคู่สมรสหรือ บิดา-มารดา ต้องมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีไม่เกิน 30,000 บาท
9. เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เงินจ่ายสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ต้องไม่เกิน 10,000 บาท สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท และไม่เกิน 15% ของรายได้ จะได้รับการยกเว้น ไม่นับรวมในเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
10. ซื้อกองทุนรวม(RMF)
เงินที่จ่ายเพื่อซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF) สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีในปีนั้นๆ ทั้งยังมีข้อจำกัดเพิ่มเติมคือ เมื่อนับรวมกับสิทธิ์ในการหักลดจากเบี้ยประกันชีวิตและกองทุนอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
11. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
สามารถนำมาลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่นำมาเสียภาษี แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี โดยมีข้อกำหนดว่าต้องเป็นประกันชีวิต ที่มีระยะคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ที่ให้ผลตอบแทน(บำนาญ) ตั้งแต่อายุ 55-85 ปีขึ้นไป ทั้งยังมีข้อจำกัดเพิ่มเติมคือ เมื่อนับรวมกับสิทธิ์ในการหักลดกองทุนอื่น ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
12. เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ
เงินที่จ่ายสมทบเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ สามารถนำมาหักลดได้ตามจริงไม่เกิน 500,000 บาท โดยคิดรวมกับสิทธิ์ในการหักลดจากกองทุนอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
13. ซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว(LTF)
ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน LTF สามารถนำมาลดหย่อนได้ตามจริง 15% แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยมีข้อกำหนดว่าต้องถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 7 ปี
14. ดอกเบี้ยกู้ยืม
เราสามารถนำดอกเบี้ยกู้ยืม ลดหย่อนได้ตามจริงไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีข้อกำหนดว่าต้องเป็นดอกเบี้ยที่จ่ายให้ธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ รวมถึงนายจ้างที่ให้กู้ยืมเพื่อ เช่า-ซื้อ ที่อยู่อาศัย
15. เงินสมทบประกันสังคม
เงินที่เราจ่ายเข้าสมทบกองทุนประกันสังคมในแต่ละเดือน สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง
16. เงินบริจาค
เงินบริจาคที่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษี สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
- เงินบริจาคทั่วไป สามารถทำมาลดหย่อนได้จริงไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
- เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนกีฬาและการศึกษา สามารถนำมาหักลดได้ถึง 2 เท่า ของเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนรายการอื่นๆ
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า นอกจากประกันชีวิต กรุงไทย-แอกซ่า ที่มีทั้ง ประกันออมทรัพย์ iGen และประกันคุ้มครองตลอดชีพอย่าง i Protect S ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้แล้ว ยังใช้วิธีอื่นๆ เช่น ประกันสุขภาพของตนเอง หรือประกันสุขภาพของพ่อแม่ลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
ยิ่งถ้าซื้อกองทุนรวม LTF หรือ กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF ก็จะช่วยผ่อนแรงไปอีก แต่บางคนไม่กล้าเสี่ยงในการเล่นหุ้นกองทุน เพราะคิดว่าถ้าเสียมากก็คือเสียไปเลย จึงเบนเข็มมาหาประกันชีวิตลดหย่อนภาษีแทน ขอบอกว่าคุณคิดถูกแล้ว เพราะ Krungthai AXA ประกันชีวิต ทั้งคุ้มครอง ออมเงิน และลดหย่อนภาษีให้คุณเสร็จสรรพ ซึ่งประกันชีวิตที่ว่ามีด้วยกัน 2 ชนิดคือ
ประกันชีวิตทั่วไปเพื่อลดหย่อนภาษี
เบี้ยประกันชีวิตที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงนั้นจะมีมูลค่าสูงสุดถึง 100,000 บาท ของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ และสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 10,000 บาท โดยเงื่อนไขของประกันชีวิตลดหย่อนภาษีที่จะใชได้ มีดังนี้
- ค่าเบี้ยประกันชีวิตต้องมีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
- ผลประโยชน์ตอบแทนคืนไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี
เมื่อไล่ดูแบบประกันชีวิต กรุงไทย แอกซ่า จะเห็นได้ว่า ประกันออมทรัพย์ iGen ตรงกับเงื่อนไขที่ถูกวางไว้ ถึงแม้จะเป็นประกันออมเงินระยะสั้น แต่ก็มีระยะเวลาถึง 10 ปี คืนเงินทุกๆ 2% ต่อปี เท่ากับว่า iGen กรุงไทย แอกซ่า สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้จริงๆ แบบประกันแบบทั่วไปที่นำมาลดหย่อนภาษีได้แบบสบายๆ
ประกันชีวิตแบบบำนาญเพื่อลดหย่อนภาษี
เงินบำนาญจากคนที่ทำงานภาครัฐทุกคนน่าจะรู้จักกันดี แต่ถึงแม้เราทำงานเอกชน แล้วอยากมีเงินตอนเกษียณอายุ หรืออยากมีเงินบำนาญก็ย่อมได้ ด้วยการทำประกันบำนาญ i Protect S ที่สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ร้อยละ 15 ของเงิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งเงื่อนไขที่ว่ามี ดังนี้
- ค่าเบี้ยประกันชีวิตลดหย่อนภาษีแบบบำนาญจต้องคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
- จ่ายเงินผลประโยชน์ตั้งแต่อายุ 55 ปีขึ้นไปถึงอายุ 85 ปี
ซึ่งประกันชีวิต Krungthai AXA i Protect S ก็ตรงกับเงื่อนไขที่ว่าทุกประกัน มีอายุประกันถึง 10 ปี จ่ายเบี้ยสั้นแต่ให้ความคุ้มครองนานถึง 10 ปี ซึ่งถ้าคุณนำประกันชีวิตทั่วไป มาบวกกับประกันชีวิตบำนาญ สามารถลดหย่อนเงินภาษีได้ถึง 300,000 บาทเลย
นอกจากนี้ สำหรับการลดหย่อนภาษี ทุกคนรู้ดีว่าเบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สบายๆ และต่างก็ถามหาว่า เมื่อไหร่ประกันสุขภาพของตัวเราเองที่มีจะใช้ลดหย่อนภาษีได้บ้าง เพราะก็เป็นประกันวินาศภัยเหมือนกัน จนเมื่อไม่นานมานี้ เบี้ยประกันสุขภาพสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้แล้ว ซึ่งคุณสามารถใช้ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง iCare จากบริษัท ประกันชีวิต กรุงไทย แอกซ่า ที่คุ้มครองทุกระยะโรคร้าย มาลดหย่อนภาษีอีกแรงก็ได้เหมือนกัน
i Protect S คือประกันชีวิตรูปแบบหนึ่งจาก Krungthai AXA ที่จะเปลี่ยนเงินไม่กี่บาทที่ทยอยส่งวันละนิดหน่อยด้วยการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต ให้กลายเป็นมรดกหลักล้านที่เป็นเงินก้อนใหญ่ให้ลูกหลานของผู้เอาประกันไว้ใช้ตอนที่เราจากไป หรือเป็นเงินเกษียณของเราเอง เรียกได้ว่าได้ 3 อย่างใน 1 เดียว
ขึ้นชื่อว่าเป็นประกันตลอดชีพ กรุงไทย แอกซ่า แน่นอนว่าต้องเป็นการออมเงินและประกันชีวิตด้วย เหมือนการส่งเบี้ยประกันก็คือการลงทุน และรอรับผลประโยชน์เมื่อถึงเวลาครบสัญญา ลงทุนแค่ 10 ปีแต่ให้ความคุ้มครองไปถึงอายุ 85 ปี แต่ที่หลายคนสงสัยคือ ถ้าวันนั้นมาถึงเงินผลประโยชน์จาก i Protect S จะเป็นของใคร?
-
สมมติว่าเสียชีวิตก่อนสัญญาประกันภัย
เงินเบี้ยประกันที่จ่ายไปแล้ว หรือทุนประกันภัย (อยู่ที่ว่าตัวเลขอะไรสูงกว่า) เงินผลประโยชน์นั้นก็จะตกเป็นของผู้เอาประกันที่ระบุไว้ในสัญญา
-
สมมติว่าเสียชีวิตหลังสัญญาประกันภัย
เงินเบี้ยประกัน i Protect S ที่จ่ายไป หรือทุนประกันภัยจะได้รับตามที่กำหนดไว้ 100% ในสัญญากรมธรรม์ โดยไม่มีการหัก ตัด หรือลบค่าใช้จ่ายอะไรเลย
หมายความว่า ถ้าอยู่รอดจนอายุสัญญาประกัน "ไอโพรเทค เอส" เงินก็เป็นของผู้เอาประกันเอง แต่ถ้าจากไปก่อนเงินก็ของผู้รับผลประโยชน์ เรียกได้ว่าเป็นมรดกหลักล้านจากประกันชีวิต i Protect S เลยก็ว่าได้
เงื่อนไขของผู้เอาประกัน i Protect S
อ่านถึงตรงนี้น่าจะมีคนอยากรู้แล้วว่า ประกันชีวิตตลอดชีพอย่าง i Protect S Krungthai AXA ที่ออมเงินไปด้วย คุ้มครองชีวิตไปด้วย และสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้นั้น มีเงื่อนไขอะไรบ้าง?
- อายุของผู้เอาประกัน : 1 เดือน - 70 ปี
- ระยะเวลาชำระเบี้ยประกันสูงสุด : 10 ปี
- ระยะเวลาคุ้มครองชีวิตนานถึง : 85 ปี
- ผลตอบแทน : เงินเบี้ยประกันที่ส่งไปจะไม่ตัดภาษี หรือเงินเอาประกันจะไม่ถูกตัด อยู่ที่ว่าเงินอะไรจะมีมูลค่ามากกว่า
- เงินเอาประกันภัย : ขั้นต่ำอยู่ที่ 200,000 บาท สูงสุดอยู่ที่ 1,000,000 บาท
ถ้ามองในมุมมองของการลดหย่อนภาษี ประกันชีวิต i Protect S ก็เป็นอีกหนึ่งประกันจาก บริษัท กรุงไทย แอกซ่า ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้แบบสบายๆ จ่ายเบี้ยประกันแค่วันละ 18 บาท แต่ให้ความคุ้มครองถึง 10 ปี ในขณะที่เงินผลประโยชน์ประกัน ไอโพรเทค เอส ทายาทที่ได้รับไม่ต้องเสียเงินภาษีสักบาท
จะเห็นได้ว่า ประกันตลอดชีพจาก i Protect S นอกจากจะออมเงิน ลดหย่อนภาษี แถมยังเป็นมรดกให้ลูกหลานอีกด้วย เพราะอายุรับประกันอยู่ที่ 1 เดือน หมายความว่า 10 ปีผ่านไป เงินก็จะตกเป็นมรดกของลูกหลานทันที สามารถใช้เป็นทุนการศึกษา รักษาตัวเองก็ยังได้ บอกแล้วว่าประกันชีวิต i Protect S เป็นได้ตั้ง 3 อย่างเชียวละ
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมองหาประกันชีวิตดีๆ ที่มีของแถมเป็นการประกันชีวิตและใช้ลดหย่อนภาษี ก็ไม่ต้องมองไปไหนไกล เพราะประกันออมทรัพย์ระยะสั้น กรุงไทย แอกซ่า iGen ที่อยู่ตรงหน้ามีทุกอย่างให้คุณเรียบร้อย เป็นได้ทั้งการเก็บเงิน คุ้มครองชีวิต รวมไปถึงการลดหย่อนภาษีจากการยื่นภาษีประจำปีด้วย
ถ้าพูดถึงการลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิต จาก กรุงไทย แอกซ่า ก็มีประกันตลอดชีพ i Protect S แล้ว ทำไมต้องมีประกันออมทรัพย์ iGen ขึ้นมาอีก เพื่อให้ทุกคนได้คลายความสงสัย เมื่อรู้จักประกัน ไอโพรเทค เอส ไปแล้ว ต่อไปก็มาลองรู้จักประกัน iGen กันดีกว่า
เงื่อนไขของประกัน iGen จ่าย 1 ได้ไปเลย 3
- อายุรับประกัน : 20 ปี - 70 ปี
- ระยะเวลาจ่ายเบี้ยประกันออมเงินระยะสั้น : 6 ปี
- ระยะเวลาคุ้มครองที่จะได้รับ : 10 ปี
- ความคุ้มครองชีวิต : ตามจำนวนเงินเอาประกันภัย มูลค่าเวนคืนเงินสด หรือเบี้ยประกันที่ชำระมาแล้ว (อยู่ที่ว่าเงินจำนวนใดมากกว่ากัน)
- เงินเอาประกันภัย iGen : ขั้นต่ำอยู่ที่ 100,000 บาท สูงสุดอยู่ที่ 500,000 บาท
หมายถึงว่า ผู้เอาประกันต้องส่งเงินเบี้ยประกันเป็นระยะเวลา 6 ปี แต่ความคุ้มครองที่จะได้รับมากถึง 10 ปี โดยแต่ละปี กรุงไทย แอกซ่า iGen จะส่งเงินคืนให้ทุกปีปีละ 2% จากเงินประกันที่เลือกเอาไว้ อีกทั้งนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย เพราะตรงตามเงื่อนไขที่ว่า “ประกันชีวิตที่นำมาลดหย่อนภาษีได้ต้องมีอายุ 10 ปีขึ้นไป”
ยิ่งถ้าพูดถึงการลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิต iGen จาก Krungthai AXA แล้วล่ะก็ สามารถทำได้แน่นอนไม่ต้องกังวลไป เพียงคุณจ่ายเบี้ยประกันวันละ 85 บาท รับเงินคืนทุกปีรวมผลประโยชน์ตลอดสัญญา 198% ซึ่งผลประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีตามอัตราภาษีและทุนประกันภัย iGen มีดังนี้
จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท
- จ่ายเบี้ยรายปี 30,800 บาท
- ภาษี 10 % ลดหย่อนได้ 3,080 บาท
- ภาษี 20% ลดหย่อนได้ 6,610 บาท
จำนวนเงินเอาประกันภัย 300,000 บาท
- จ่ายเบี้ยรายปี 92,400 บาท
- ภาษี 10% ลดหย่อนได้ 9,240 บาท
- ภาษี 20% ลดหย่อนได้ 18,480 บาท
จำนวนเงินเอาประกันภัย 500,000 บาท
- จ่ายเบี้ยรายปี 154,000 บาท
- ภาษี 10% ลดหย่อนได้ 10,000 บาท
- ภาษี 20% ลดหย่อยได้ 20,000 บาท
จะเห็นว่า ประกัน iGen เป็นได้ทั้งการออมเงิน ลดหย่อนภาษี และคุ้มครองชีวิตไปในตัว ถ้าใครสงสัยว่าทำไมถึงต้องแบ่งแยกออกจากประกัน i Protect S ด้วย คำตอบก็คือ เพื่อความพอใจของผู้เอาประกัน บางคนอยากได้การออมเงินระยะสั้นๆ ที่เบี้ยประกันสูงสุดอยู่ 500,000 บาทก็ซื้อประกันออมทรัพย์ iGen เป็นต้น ถ้าใครไม่อยากใช้วิธีลดหย่อนภาษีด้วยวิธีอื่น "ก็ลองซื้อประกันชีวิตจาก Krungthai AXA ไปลดหย่อนก็ได้"
การลดหย่อนภาษีตามที่กรมสรรพาการวางเอาไว้ มีด้วยกันหลายวิธีมากมายจากที่กล่าวไปข้างต้น เช่น กองทุน LTF หรือแม้แต่ดอกเบี้ยที่กู้ซื้อบ้านก็นำมาลดหย่อนภาษีได้ แต่บางคนไม่อยากใช้สิทธิ์ตรงนั้นก็ไม่เป็นไร หรือกำลังสนใจ Tax Saving จากกรุงไทย แอกซ่า ก็จะเห็นได้ว่ามีทั้ง iGen ประกันออมทรัพย์ และ i Protect S ประกันตลอดชีพ สิ่งต่อไปที่น่าคิดก็คือ ซื้อประกันชีวิตเพื่อเอาไปลดหย่อนภาษีนี่คุ้มเหรอ?
ทำประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษี คุ้มหรือ?
ถ้าว่ากันตามตรง "การลดหย่อนภาษีด้วยการใช้ประกันชีวิตไม่ค่อยจะคุ้มเท่าไหร่นัก" เพราะค่าเบี้ยประกันที่จ่ายไปแต่ละอย่างอาจจะจ่ายมากกว่าการลดหย่อนภาษีก็ได้ แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งจะเห็นได้ว่า ประกันชีวิตมีไว้เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ดังนั้น การใช้ประกันชีวิต iGen หรือ i Protect S เลยคุ้มค่ากว่า
แต่ถ้ามองว่าอยากได้ทั้ง ประกันชีวิต การออมเงิน และลดหย่อนภาษี เพียงเปรียบเทียบเบี้ยประกันผ่าน rabbit finance ว่าเราสามารถจ่ายเบี้ยประกันไหวแน่ๆ ก็จัดการซื้อได้เลย แต่ถ้าไม่แนะนำให้ไปลงทุนในหุ้นดีกว่า ถ้าไม่อยากได้ประกันชีวิต ถ้าคิดว่ามีประกันสังคมอยู่แล้ว แต่อย่าลืมว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอนะ
rabbit finance เป็นโบรกเกอร์ประกันภัยที่ให้บริการเรื่องวินาศภัยต่างๆ มากมาย โดยบริษัท กรุงไทย แอกซ่า จำกัด (มหาชน) ที่ได้รับความร่วมมือจาก กลุ่มประกันแอกซ่าและธนาคารกรุงไทยได้ร่วมมือกัน โดยเป็นหนึ่งในพาร์ทเนอร์ของ rabbit finance ภายใน 30 บริษัทประกันภัย
ภาษีไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การลดหย่อนจึงสำคัญ
การจ่ายเงินภาษีเงินได้ประจำปีเป็นหน้าที่ที่ต้องทำกันอยู่แล้ว ไม่ว่าใครก็อยากได้การลดหย่อนภาษี การใช้ประกันชีวิตจาก Krungthai Axa อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีก็ได้ หลายคนไม่เข้าใจว่าไม่ต้องยื่นภาษีได้ไหม คำตอบคือ ได้! แต่ก็เป็นการผิดกฎหมายอยู่ดีนั่นละ
การยื่นภาษี แม้จะเป็นเรื่องที่น่าเบื่อไม่อยากทำ แต่การยื่นแบบแสดงรายการถือเป็นการช่วยชาติอีกช่องทางหนึ่ง เพราะข้อมูลที่ยื่นไปจะนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกมายมาย ทั้งเป็นข้อมูลในการจัดเก็บภาษีที่ถูกต้อง ข้อมูลรายได้ของประชากรทั้งหลายในประเทศ อีกทั้งเป็นหลักฐานว่าเราได้ยื่นภาษีไปแล้ว
ดังนั้น rabbit finance และ กรุงไทย แอกซ่า จึงเล็งเห็นว่า ถ้าคิดจะยื่นภาษี แล้วเกณฑ์เงินถึงที่จะต้องจ่ายจริงๆ การมีประกันชีวิต iGen หรือ i Protect S คอยลดหย่อนภาษีน่าจะผ่อนหนักให้เป็นเบาแก่ผู้เอาประกันบ้าง ถึงแม้เบี้ยประกันชีวิตจะค่อนข้างแพงสักหน่อย แต่ถ้าคิดถึงความคุ้มครองที่จะได้รับก็ถือว่าคุ้มค่าเลยละ
ทั้งนี้ ถ้าคิดว่าตัดสินใจจะใช้ประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษีแล้ว ลองเข้าไปเปรียบเทียบแบบประกัน เบี้ยประกันที่ต้องจ่ายใน เว็บไซต์ rabbit finance ก่อนก็ได้ กว่าจะถึงการยื่นภาษีอีกรอบน่าจะตัดสินใจได้แล้วเนอะว่า "จะใช้ประกันออมทรัพย์ iGen หรือ ประกันคุ้มครองชีวิต i Protect S ดีนะ"